วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ว่าด้วยเรื่องประกันสังคมใครเป็นใครฉันอยู่ ม.33 39 40 กันวะ

ที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า มีอยู่้วันนึงอ่านข่าวแล้วเจอว่า คนที่มีอาชีพอย่างผมคือเป็นแรงงานนอกระบบ เช่น freelance พวกขายของตามตลาดนัด ฯลฯ สามารถทำประกันสังคมได้แล้วนะ ก็เลยสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ปรากฏว่า งงแดก ซิครับ อ่าน อ่าน อ่าน มันอยู่หลายวันเหมือนกัน ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีแต่ก็คิดว่า เข้าใจมากขึ้น พอที่จะเขียนออกมาให้ชาวบ้านอ่านได้ ก็เลยขอเขียนถึงสักนิดนึง

ประกันสังคมมีทำไม ???

มีไว้เวลาเราซึ่งเป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนทั้งหลาย เจ็บปวย / คลอดบุตร / ตาย / ทุพพลภาพ / ชราภาพ / สงเคราะหบุตร / วางงาน จะได้มีเงินใช้บ้างเหมือนกับที่ข้าราชการเค้ามีบำนาญ หรือ เบิกไ้ด้เวลาเจ็บป่วย อะไรทำนองนี้

ใครเป็นคนจ่ายเงินประกันสังคม

ก็เรานี่แหละที่เป็นลูกจ้าง + นายจ้าง + รัฐบาล  ส่วนคนไหนจ่ายกี่ % อันนี้ไปศึกษาหาข้อมูลกันเอาเองนะจ้ะ 

คนที่ทำประกันสังคมมีกี่ประเภท [ภาษากฏหมายเรียกว่า ผู้ประกันตน]

1. ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 [ลูกจ้างในระบบ]

2. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 [เคยเป็นลูกจ้างในระบบแต่กรูลาออกแล้ว เซง Boss]

3. ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 [แรงงานนอกระบบ คนละความหมายกับแรงงานต่างด้าวนะแสรด]

ที่มันชวนให้ งง ก็ตรงนี้แหละ กรูจะรู้ได้งัยว่ากรูอยู่ในประเภทไหน คนเขียนกฏหมายแม่งก็เอี้ยจริงเขียนภาษาไทยแล้วยังต้องมาแปลเป็นไทยอีกรอบ  กระผมก็จะขออธิบายตามความเข้าใจของตัวเองอ่ะนะครับ ผิดถูกยังไง ก็ขอให้ผู้รู้ช่วยชี้แนะมาด้่วย

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 [ลูกจ้างในระบบ]

ตาม พรบ.ประักันสังคม มาตรา 33 บอกไว้ว่า ลูกจ้างอายุ 15 - 60 ปี เป็นผู้ประกันตน ลูกจ้างที่อายุเกิน 60 ปี แต่ยังทำงานอยู่ประมาณว่าแม่งไม่ยอมเกษียณซะทีก็ยังถือว่าเป็นผู้ประักันตนต่อไป  ฉะนั้นมนุษย์เงินเดือนอย่างพวกท่านทั้งหลายก็เป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 นี้ เป็นการประกันตนภาคบังคับเมื่ือคุณเข้ามาอยู่ในระบบ เพราะ นายจ้างเค้าก็จะหักเงินเดือนคุณส่งประกันสังคมทุกเดือน

ถ้าวันดีคืนดีคุณเบื่อเจ้านายมาก เจ้านายแม่งงี่เง่า บ้ากาม บริหารคนไม่เป็น คุณเลยตัดสินใจลาออกแม่งซะเลย คุณก็ยังได้รับการคุ้มครองในกรณี เจ็บป่วย /  ทุพพลภาพ  /  คลอดบุตร /  และตาย ไปอีก 6 เดือน

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 [เคยเป็นลูกจ้างในระบบแต่กรูลาออกแล้ว เซง Boss]

ตาม พรบ.ประกันสังคม มาตรา 39 บอกไว้ว่า 

  1. เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน
  2. ต้องยื่นคำขอเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
  3. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

ผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 ได้สิทธิคุ้มครอง 6 กรณีคือ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตรและชราภาพ ยกเว้นกรณีว่างงาน

กรณีออกจากงานเกิน 6 เดือนแล้ว ไม่มีสิทธิสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 ได้ แต่รองรับด้วยมาตรา 40

กรณีที่ทำให้ขาดสิทธิผู้ประกันตนตามมาตรา 39  มีดังนี้

  1. ลาออก (จาก มาตรา 39 ไปทำไร่ไถ่นาเลี้ยงควายดีกว่า)
  2. ตาย (ขี้เกียจหายใจขึ้นมาซะงั้น)
  3. กลับไปเป็นลูกจ้าง ได้สิทธิตาม มาตรา 33 (ไปไม่รอดละกรู)
  4. ขาดส่งติดกัน 3 งวด (งานก็ไม่มีำทำแ้ล้วจะเอาเงินที่ไหนมาส่งวะ)
  5. นับย้อนหลังไป 12 เดือนส่งไม่ถึง 9 เดือน (พอมีเงินบ้างแต่บางเดือนมันก็ไหวจริง ๆ นะพี่)

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 [แรงงานนอกระบบ คนละความหมายกับแรงงานต่างด้าวนะแสรด]

ตาม พรบ.ประักันสังคม มาตรา 40 บอกไว้ว่า 

บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 และ 39  ฉะนั้นก็หมายถึง พวกเราเหล่า Freelance  หรือพวกเราเหล่าแม่ค้า พ่อค้า ตามตลาดนัดต่าง หรือใครก็ได้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบลูกจ้าง ก็สามารถมาสมัครประกันสังคมตามมาตรา 40 นี่ได้อ่ะ

สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 40 นี่มีขนาดไหนกัน (อ่านแล้วก็ปลงนะ แต่ยังดีกว่าไม่ได้ละวะ)

1. เงินทดแทนการขาดรายได้

    - เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วันต่อปี

เงื่อนไข : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4

2. เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ

   - รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท ต่อเดือนเป็นเวลานานถึง 15 ปี

เงื่อนไข : เงินทดแทนฯ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

3. ค่าทำศพ

   - เงินค่าทำศพ 20,000 บาท

เงื่อนไข : จ่ายเงินสมทบ 6 ใน 12 เดือน

4. เงินบำเหน็จชราภาพ

  - รับเงินก้อน เมื่ออายุ 60 ปี

เงื่อนไข : อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์

มาตรา 40 นี่คุ้มครองอะไรบ้างอ่ะ (อ่านแล้วก็ปลงนะ แต่ยังดีกว่าไม่ได้ละวะ)

จ่ายเงินสมทบ 100 บาท (ประชาชนจ่าย 70 บาท/เดือน รัฐบาลจะร่วมจ่ายในปีแรก 30 บาท/เดือน) จะได้รับความคุ้มครอง 3 กรณี

1.  กรณีจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อมีการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป

2.  กรณีทุพพลภาพ

3.  กรณีเสียชีวิต

จ่ายเงินสมทบ 150 บาท (ประชาชนจ่าย 100 บาท/เดือน รัฐบาลจะร่วมจ่ายในปีแรก 50 บาท/เดือน) จะได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี

1.  กรณีจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เมื่องมีการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป

2.  กรณีทุพพลภาพ

3.  กรณีเสียชีวิต

4.  กรณีชราภาพ ***หากผู้ประกันตน เลือกชำระเงินสมทบในทางเลือกที่ 2 คือ จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน จะมีการคุ้มครองกรณีชราภาพ

จะสมัครเป็นผู้ประกันตามมาตรา 40 ยังไงละเนี้ยะ

สมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ หน่วยบริการเคลื่อนที่/ ตัวแทนเจ้าหน้าที่ประกันสังคม เช่น ผู้ใหญ่บ้าน เอกสารในการสมัคร ใช้สำเนาบัตรประชาชน กรอกแบบการขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส. 1-40)

===============================

อ่ะก็เป็นอันว่าจบในเรื่องผู้ประกันตนนะครับว่าใครอยู่มาตราไหน อะไร ยังไง ผมเองก็นั่งอ่าน อ่าน แล้วก็มึนครับ เข้าใจแค่นี้แหละ ใครที่สนใจอยากรู้เพิ่มเติมว่าต้องจ่ายเ่ท่าไรยังไง นายจ้างมันอมเงินเราอ่ะป่าว บลาบลาบลา ก็ขอเชิญศึกษาด้วยตัวเองนะครับ ตัวใครตัวมันอ่ะ ผมสนใจแค่ มาตรา 40 เท่านั้นแหละเพราะมันตรงกับชีวิตผม

===============================

ที่มา

https://groups.google.com/group/siamhrm/browse_thread/thread/513b5757de95d18a?hl=th

http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=215

http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=616

http://www.sso.go.th/sites/default/files/1.1web_0.htm

บทความอันนี้เขียนขึ้นเองแต่ลงไว้ใน facebook ก็เลยถือโอกาสเอามาเผยแพร่ที่ Blog ด้วยเลยละกันหวังว่าข้อมูลนี้ยังจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมนะครับ

1 ความคิดเห็น: