วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รวมบทความน่าสนใจภาค 3

สวัสดีครับวันนี้มีบทความน่าสนใจมาฝากเพื่อน ๆ เลือกอ่านกันได้ตามใจชอบครับ

การใช้งานโปรแกรม Access 2010 : เป็นไฟล์ PowerPoint วิชาฐานข้อมูลนะครับว่ากันตั้งแต่เบื้องต้นไปจนถึงขั้นกลางครับ

การใช้งาน Joomla Version 1.5.x : เป็นไฟล์ PowerPoint เช่นเดียวกันครับ ถึงจะล้าสมัยไปแล้วสำหรับ Joomla Version นี้แต่ก็เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา CMS ยอดฮิตอย่าง Joomla ครับ

การตลาด Online [Online Marketing] : เป็นไฟล์ PowerPoint บรรยายในหัวข้อดังนีิ

  • การทำการตลาดออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการขาย
  • การทำการตลาดผ่าน Search Engine
  • การทำการตลาดผ่าน Social Network

ขอขอบพระคุณ คุณภาวนา เทียนศิริ จาก บริษัท ไชโย โฮสติ้ง จำกัด ที่ได้ผลิตเอกสารชุดนี้ขึ้นมาครับ


ภาษา PHP5 : เป็นไฟล์ PowerPoint อธิบายเกี่ยวกับเบื้องต้นของภาษา PHP Version 5 นี้ครับ

ขอขอบพระคุณ iamsanya.com สำหรับเอกสารชุดนี้ครับ

สำหรับวันนี้ก็หมดเพียงเท่านี้ครับ พบกันใหม่โอกาสหน้าครับ

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะของภาษีอากรที่ดีต้องมีอะไรบ้าง ???

สวัสดีครับวันนี้ทำการบ้านวิชาภาษี ในเรื่องของลักษณะของภาษีอากรที่ดีต้องประกอบไปด้วยหลักการอะไรบ้าง  ก็ได้ค้นคว้าหาข้อมูลแบบรวดเร็วจึงสรุปออกมาได้ดังนี้

ลักษณะของภาษีอากรที่ดีประกอบไปด้วยหลักการ ดังนี้

1.  หลักด้านความเป็นธรรม  (Equity)

หลักความเป็นธรรม คือ การเก็บภาษีอย่างทั่วถึง โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติและเก็บตามกำลังความสามารถของผู้เสียภาษี โดยหลักของความเป็นธรรมนี้จะต้องเป็นธรรมและเสมอภาคกับผู้เสียภาษีทุกราย ซึ่งหลักความเป็นธรรมในทางทฤษฏีมี 2 แนวคิดคือ

1.1  หลักความเป็นธรรมสมบูรณ์ (Principle of Absolute Equity) ตามทฤษฏีนี้ถือว่าการเก็บภาษีที่ยุติธรรมนั้นคือการที่ทุกคนจะต้องเสียภาษีเท่ากัน ทฤษฏีนี้จะใช้ได้ดีถ้าผู้ต้องเสียภาษีทุกคนมีฐานะหรือรายได้เท่าเทียมกันแต่ในความเป็นจริงแล้วฐานะหรือรายได้ของคนในประเทศไม่เท่ากัน ดังนั้นหลักการนี้จึงใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ

1.2  หลักความเป็นธรรมสัมพันธ์ (Principle of Relative Equity) ทฤษฏีนี้คือการยึดหลักความสามารถในการเสียภาษี  โดยถือว่าเป็นความยุติธรรมในการเสียมิได้เกิดจากการที่ทุกคนเสียภาษีเท่ากัน แต่ควรเกิดจากสัดส่วนแห่งผลประโยชน์ที่แต่ละคนได้รับ ซึ่งจะนำมาสู่ความสามารถในการเสียภาษีของตน ที่เรียกว่าธรรมสัมพันธ์เพราะว่าได้มีการพิจารณาความเป็นธรรมโดยเอาการเสียภาษีไปสัมพันธ์กับประโยชน์ที่ได้รับหรือความสามารถในการเสียภาษีประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งเพราะว่าได้ถือหลักว่าบุคคลจะเสียภาษีเป็นธรรมหรือไม่นั้นไม่ได้พิจารณาจากจำนวนภาษีที่เขาเสียว่าเท่ากับคนอื่นหรือไม่ แต่ควรพิจารณาจากฐานะหรือผลประโยชน์ที่เขาได้รับ

2. หลักความแน่นอน (Certainty)

หลักความแน่นอน คือ การเก็บภาษีที่ดีจะต้องมีความแน่นอนชัดเจน รู้ว่าใครบ้างจะต้องเสียภาษี เสียเท่าไร เสียอย่างไร และอาศัยฐานอะไร ในอัตราเท่าไร และไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ 

3. หลักความเป็นกลาง  (Neutrality)

หลักความเป็นกลาง คือ ระบบภาษีอากรที่ดีจะต้องพยายามไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อรูปแบบการออม  การบริโภค  และการแข่งขันในการผลิตสินค้าและบริการของประชาชน

4. หลักอำนวยรายได้ (Productivity)

หลักอำนวยรายได้ คือ ภาษีอากรที่ดีต้องสามารถทำรายได้ดี และเพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าอัตราการเพิ่มของรายได้ ประชาชาติเพื่อสนองความต้องการในด้านการใช้จ่ายและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยภาษีอากรที่สามารถทำรายได้ดีต้องมีลักษณะอย่างน้อย 3 ประการ คือ ฐานภาษีกว้างเพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ได้มากโดยอัตราภาษีไม่สูงมากนักใช้อัตราภาษีแบบก้าวหน้าและใช้วิธีประเมินภาษีตามราคามูลค่าซึ่งจะทำให้รัฐบาลได้รับรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อภาวะเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองโดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขอัตราภาษีบ่อยครั้งและกลไกในการบริหารการจัดเก็บของรัฐจะต้องมีประสิทธิภาพพอสมควร เพื่อให้ สามารถจัดเก็บภาษีอากรได้ตามเป้าหมาย

5. หลักความยืดหยุ่น (Flexibility)

หลักความยืดหยุ่น คือ ภาษีอากรที่ดีควรจะมีความยืดหยุ่น สามารถปรับให้เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจและสามารถที่จะทำรายได้ให้กับรัฐบาลในอัตราที่สูง ซึ่งส่งผลให้รายได้จากภาษีอากรเพิ่มขึ้นหรือลดลงเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ประชาชาติ (GDP) ดังนั้นภาษีอากรจึงทำหน้าที่ในการปรับอุปสงค์ รวม (aggregate demand) ให้เป็นไปโดยเหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีความหมายเท่ากับว่าภาษีที่มีความยืดหยุ่นสูงจะเป็นเครื่องมือช่วยรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจได้ โดยตัวเอง (built – in – flexibility)

6. หลักประสิทธิภาพในการบริหาร (Administrative Efficiency) 

หลักประสิทธิภาพในการบริหาร คือ ภาษีอากรที่ดีและมีประสิทธิภาพควรต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเกี่ยวกับภาษีอากร ซึ่งจะพิจารณาจาก 2 ด้านด้วยกันก็คือ ทางด้านรัฐบาล และทางด้านประชาชนผู้เสียภาษี โดยทางด้านรัฐบาลควรพยายามจัดเก็บภาษีอากรที่เสียต้นทุนในการจัดเก็บต่ำและสามารถเก็บได้อย่างครบถ้วน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดเก็บ และทางด้านผู้เสียภาษีไม่ควรให้ผู้เสียภาษีอากรต้องมีภาระและต้นทุนในการเสียภาษีอากรสูง อันเป็นการช่วยยกระดับความสมัครใจในการเสียภาษีของผู้เสียภาษีให้สูงขึ้น

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รวมบทความน่าสนใจ ภาค 2

สวัสดีครับวันนี้มีบทความน่าสนใจมาฝากเพื่อน ๆ เลือกอ่านกันได้ตามใจชอบครับ


ขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่านนะครับ ... บทความชุดนี้ได้มาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครับ


วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ผลกระทบของการเปิดเสรีอาเซียน (AEC) ที่มีต่อประเทศไทย

บทความนี้ก็จะรวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับ AEC หรืออาเซียนที่เราควรจะรู้ไว้เป็นข้อมูลนะครับเพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558

การเปิดเสรีแรงงานที่กำลังจะมาถึงในปี พ.ศ.2558 หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ส่วนตัวผมคิดว่าแรงงานไทยเราต้องโดนผลกระทบทั้งด้านดีและด้านไม่ดีอย่างแน่นอนครับก็เลยนำ Link ข่าวที่เกี่ยวกับ AEC มารวม ๆ ไว้ให้อ่านกันครับ

แนวทาง... พัฒนาทักษะนักเรียน ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  : การพัฒนาคนโดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะ 5 ด้านเพื่อเตรียมเข้าสู่สังคมอาเซียน

ทันตแพทย์-พยาบาล อาชีพน่าเป็นห่วง หลังการเปิดเสรีแรงงานในอาเซียน สปาขนาดเล็ก ปิดบริการอื้อซ่า 
ภาษาโลก ภาษาเอเชีย ภาษาจีน? : ภาษาจีนมาแน่นอนครับ ใครอยากก้าวหน้าในอนาคตไปเรียนภาษาจีนเลยครับ
“ซอฟต์แวร์ไทย จะก้าวอย่างไรในเวทีอาเซียน”  : บทความที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากทำงานด้านโปรแกรมเมอร์ เพื่อเตรียมรับมือกับ AEC ในปี พ.ศ. 2558 นี้ครับ

จับตา 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบเออีซี ชี้ช่องปรับตัว !  :  มาดูกันว่าเปิด AEC แล้วอุตสาหกรรมใดบ้างที่ได้รับผลกระทบ

ทางออกธุรกิจไทยจากปัจจัยการขึ้นค่าแรง : มาดูกันว่า SME ไทยควรปรับตัวอย่างไรเพื่อต่อสู้กับนโยบายค่าแรง 300 บาท และ การมาของ AEC

วันนี้มีข่าวมาอัพเดตเท่านี้ก่อนครับถ้าเจอข่าวหรือบทความที่น่าสนใจก็จะทยอยนำมาลงไว้ให้อ่านกันครับ


ที่มา : มติชนออนไลน์, Thaiware.com