วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แจก E-Book สอนใช้งาน Microsoft Office 2010 ฟรี

เอกสารโครงการ การพัฒนาทักษะมาตรฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  เห็นว่ามีประโยชน์เลยนำมาเผยแพร่ต่อครับ หากนำไปใช้กรุณาให้เครดิตทางมหาวิทยาลัยด้วยครับ ขอบคุณครับ


Link เสียโปรดแจ้งทาง comment หรือ email ครับผม

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โปรแกรมสำหรับดูไฟล์ VDO จากกล้องวงจรปิดครับ

สามารถเปิดไฟล์ที่ export มาจากเครื่อง DVR ของกล้องวงจรปิดได้ครับ ... ไฟล์ VDO จากกล้องวงจรปิดบางรุ่นต้องใช้โปรแกรมนี้ในการเปิดดูครับ

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

How to Restore Database Joomla การกู้คืน Joomla จากข้อมูลที่ Backup ไว้

บทความนี้เป็นบทความต่อเนื่องมาจากบทความที่แล้วนะครับ เมื่อสามารถติดตั้ง Joomla ได้ เราก็ต้องสามารถ backup Joomla ได้เช่นเดียวกัน

การกู้คืน Joomla จากข้อมูลที่ Backup ไว้

สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับขั้นตอนนี้คือ

1. folder “webkm” ที่ backup ไว้ในขั้นตอนที่ผ่านมา
2. ไฟล์ “webkmwebkm.sql” ที่ backup ไว้ในขั้นตอนที่ผ่านมา

ถ้ามาถึงตรงนี้แล้ว งง งง กลับไปอ่าน เรื่อง การ backup Joomla ใหม่นะครับ

ขั้นตอนการกู้คืน มีดังนี้

1. copy folder “webkm” ไปไว้ที่ C:\AppServ\www
2. เปิด google chrome ขึ้นมาพิมพ์ http://localhost/phpmyadmin/
3. ใส่ username : root password : root

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


4. ช่อง create new Database พิมพ์ webkm ส่วน collation ให้เลือก utf8_general_ci จากนั้น คลิกปุ่ม create

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


5. ได้หน้าต่างดังรูป 

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


6. คลิกเลือกคำสั่ง Import > คลิกปุ่ม Choose File เพื่อไปดึงไฟล์ SQL ที่เรา backup ไว้กลับคืนมาในที่นี้เราจะเลือกไฟล์  “webkmwebkm.sql” > คลิกปุ่ม Go


คลิกที่รูปเพื่อขยาย

7. ใน Database ชื่อ webkm ก็จะมี table ต่าง ๆ กลับคืนมาเรียบร้อยแล้วครับ (ตามรูป)

คลิกที่รูปเพื่อขยาย

8. เข้าใช้งาน Joomla ได้ตามปกติเหมือนเดิมทุกประการ

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

How to Backup Joomla Database วิธีการ Backup Database Joomla

บทความนี้เป็นบทความต่อเนื่องมาจากบทความที่แล้วนะครับ เมื่อสามารถติดตั้ง Joomla ได้ เราก็ต้องสามารถ backup Joomla ได้เช่นเดียวกัน

การ backup Joomla

1. เปิด google chrome ขึ้นมาพิมพ์ http://localhost/phpmyadmin/
2. username : root password : root

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


3. ได้หน้าต่างดังรูป > ด้านซ้ายมือคลิกเลือก Database “webkm”

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


4. คลิกเลือก คำสั่ง Check All (เป็นการเลือกตารางทั้งหมด)


5. คลิกเลือกคำสั่ง Export

คลิกที่รูปเพื่อขยาย

6. ได้หน้าต่างดังรูป กำหนดค่าดังนี้
  • เลือก SQL
  • ติ๊กถูกหน้า Save as file
  • ตั้งชื่อไฟล์ Database ที่จะ export ตามตัวอย่างตั้งว่า wekm
  • คลิกปุ่ม Go
คลิกที่รูปเพื่อขยาย

7. จะได้ไฟล์ webkmwebkm.sql > save ไปเก็บไว้ใน flash drive หรือที่ปลอดภัย

8. จากนั้นเปิด My Computer ขึ้นมาแล้วไปที่ C:\AppServ\www  จะเห็น Folder “webkm”  ให้ทำการ copy ไปเก็บไว้ที่ flash drive หรือที่ปลอดภัย

สรุปการ backup Joomla มี 2 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ การ backup file SQL ผ่านทาง phpmyadmin และ การ backup ตัวเว็บ Joomla ซึ่งก็คือ folder “webkm” ที่อยู่ใน www ของ appserv  ต้องทำให้ครบนะครับ



บทความที่เกี่ยวข้อง

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

How to Install Joomla 2.5.4 การติดตั้ง Joomla เวอร์ชั่น 2.5.4

ในบทความนี้จะเป็นการสาธิตการติดตั้ง Joomla Version 2.5.4 ลงบนเครื่อง Computer โดยจำลองเครื่องเป็น webserver ด้วยโปรแกรม Appserv Version 2.5.1.0 นะครับเพื่อนำมาทำเว็บสำหรับการจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจ (Knowledge management) ดังนั้นจะตั้งชื่อ folder , ฐานข้อมูล ฯลฯ ว่า webkm นะครับ

ขั้นตอนการติดตั้ง Joomla 2.5.4 

1. Download Joomla 2.5.4 ได้ที่ 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย

เลือก Click here to download Joomla 2.5.4 (Full package)

2. ได้ไฟล์ Joomla_2.5.4-Stable-Full_Package.zip
3. copy ไฟล์ Joomla_2.5.4-Stable-Full_Package.zip ไปไว้ที่ C:\AppServ\www
4. แตกไฟล์ด้วยการคลิกขวา > Extract to Joomla_2.5.4-Stable-Full_Package\

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


5. Rename โฟลเดอร์ Joomla_2.5.4-Stable-Full_Package เป็น webkm
6. เปิด google chrome ขึ้นมาพิมพ์ http://localhost/phpmyadmin/ 
7. username : root password : root

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


8. ได้หน้าต่างดังรูป 

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


9. ช่อง create new Database พิมพ์ webkm ส่วน collation ให้เลือก utf8_general_ci จากนั้น คลิกปุ่ม create

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


10. ได้หน้าต่างดังรูป (แสดงว่าสร้าง Database เสร็จเรียบร้อยเพื่อเตรียมติดตั้ง Joomla)

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


11. เปิด google chrome ขึ้นมาพิมพ์ http://localhost/webkm/  ได้หน้าต่างดังรูป
12. เลือก ไทย (ภาษาไทย) คลิกปุ่ม next (มุมขวาบน)

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


13. ได้หน้าต่างตามรูป “ตรวจสอบระบบก่อนการติดตั้ง” คลิกปุ่ม ต่อไป

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


14. ได้หน้าต่างตามรูป “ลิขสิทธิ์” คลิกปุ่ม ต่อไป

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


15. ได้หน้าต่างตามรูป “การตั้งค่าฐานข้อมูล” กำหนดค่าดังนี้

ชนิดฐานข้อ : mysql
ชื่อโฮส : localhost
ชื่อผู้ใช้ฐานข้อมูล : root
รหัสผ่าน : root
ชื่อฐานข้อมูล : webkm 

กำหนดค่าเสร็จแล้วคลิกปุ่ม ต่อไป

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


16. ได้หน้าต่างตามรูป “ตั้งค่า FTP” คลิกปุ่ม ต่อไป

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


17. ได้หน้าต่างตามรูป “ตั้งค่าหลักของเว็บ” กำหนดค่าดังนี้

ชื่อเว็บ :  ตามที่ตั้งไว้ เช่น webkm
อีเมล์ของคุณ :  ใส่อะไรก็ได้ เช่น xxx@xxx.com
ชื่อเข้าระบบของผู้ดูแล : admin
รหัสผ่านผู้ดูแล : 1234
ยืนยันรหัสผ่านผู้ดูแล : 1234
คลิกปุ่ม “ติดตั้งข้อมูลตัวอย่าง”

กำหนดค่าเสร็จแล้วคลิกปุ่ม ต่อไป

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


18. ได้หน้าต่างตามรูป “เสร็จสิ้น” คลิกปุ่ม “ลบโฟลเดอร์ installation” 

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


19. ติดตั้ง Joomla สำเร็จแล้วครับ

เข้าดูหน้าเว็บได้ที่ http://localhost/webkm/
เข้าหน้าผู้ดูแลระบบได้ที่ http://localhost/webkm/administrator/  
ใช้ username กับ password ตามที่กำหนดไว้ 
ตามตัวอย่างคือ username : admin password : 1234

วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

FAQ ปัญหาข้อกฎหมาย พรบ.นิติบุคคลอาคารชุด (Condo)

สวัสดีครับ สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว "การจดทะเบียนกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด (คอนโด)" มีบางเรื่องที่สามารถนำมาอธิบายเพิ่มเติมได้อีก ดังนี้

Q. พระราชบัญญัติอาคารชุดที่ใช้บังคับอยู่ปัจจุบันเป็นฉบับไหน

A. พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 4) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551  สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
ในบทความนี้จะอ้างอิงเลขมาตราจาก พรบ.อาคารชุดฯ ดังกล่าว นะครับ
Q. ที่มาของกรรมการนิติบุคคลฯ อาคารชุด

A. ตามมาตรา 37 ของ พรบ. กรรมการนิติบุคคล อาคารชุดต้องมีไม่น้อยกว่า 3 แต่ไม่เกิน 9 คน แต่งตั้งโดยที่ประชุมใหญ่ของเจ้าของร่วม หมายความว่า จะเป็นการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือ ประชุมวิสามัญ ก็ได้ แต่ในจดหมายเชิญประชุมจะต้องมีวาระเรื่องนี้ชัดเจน และมีการลงคะแนนเสียง

Q. วาระของกรรมการนิติบุคคลฯ อาคารชุด

A. ตามมาตรา 37 ของ พรบ. กรรมการนิติบุคคล มีวาระในการดำรงตำแหน่งครั้งละ 2 ปี กรณีที่มีกรรมการลาออก แล้วมีการแต่งตั้งเพิ่มเติมเข้าไปให้มีวาระเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของ กรรมการชุดนั้น ๆ ... กรรมการจะดำรงตำแหน่งเกินกว่า 2 วาระติดต่อกันไม่ได้ (พูดง่าย ๆ ก็คือห้ามเกิน 4 ปีติดต่อกัน) ยกเว้นจะหาคนมาเป็นกรรมการนิติฯ ไม่ได้

Q. คุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นกรรมการนิติฯ

A. ตามมาตรา 37/1 มี ดังนี้
  1. เจ้าของร่วมหรือคู่สมรสของเจ้าของร่วม (จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย)
  2. ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีของเจ้าของร่วม
  3. ตัวแทนของนิติบุคคลจำนวน 1 คน ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นเจ้าของร่วม
Q. ลักษณะต้องห้ามของคนที่จะมาเป็นกรรมการนิติฯ

A. ตามมาตรา 37/2

Q. การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการนิติฯ

A. พ้นตามวาระ (มาตรา 37) หรือ ตามมาตรา 37/3
  1. ตาย
  2. ลาออก
  3. ขาดคุณสมบัติตาม 37/1 หรือ มีลักษณะต้องห้ามตาม 37/2
  4. ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติตามมาตรา 44 ให้พ้นจากตำแหน่ง (คะแนนเสียงข้างมากของเจ้าของร่วมที่เข้าประชุม)
Q. อำนาจหน้าที่ของกรรมการนิติบุคคลฯ

A. ตามมาตรา 38

Q. ที่มาของผู้จัดการนิติบุคคลฯ

A. ผู้จัดการนิติบุคคลฯ มี 2 กรณี คือ

  • ผู้จัดการตามมาตรา 35/2 คือ มาจากการเลือกของที่ประชุมใหญ่ (สามัญหรือวิสามัญ ก็ได้)  โดยได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 25% ของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด (มาตรา 49)
  • ผู้จัดการชั่วคราวตามมาตรา 38(2) คือ มาจากที่ประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลฯ เลือก กรรมการ 1 คน มาทำหน้าที่ผู้จัดการนิติฯ เนื่องจากไม่สามารถเลือกผู้จัดการตามมาตรา 35/2 ได้
เจ้าของร่วมควรให้ความใส่ใจกับการประชุมสามัญหรือวิสามัญนะครับเพื่อให้คอนโด เดินหน้าบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Q. อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการนิติบุคคลฯ

A. ตามมาตรา 36

Q. หลักการในการนัดประชุมใหญ่

A. นัดประชุมให้ถูกต้องนะครับ รายละเอียดดังนี้

  • ประชุมใหญ่สามัญประจำปี : ต้องจัดปีละ 1 ครั้ง ภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของนิติบุคคลฯ และต้องมีวาระตามมาตรา 42/1
  • ประชุมใหญ่วิสามัญ :  จัดเมื่อไรก็ได้ตามมาตรา 42/2
  • การเรียกประชุมต้องทำเป็นหนังสือระบุสถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุม เรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมพร้อมรายละเอียดพอสมควร
  • ส่งให้เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันประชุม
  • กรณีประชุมนัดแรกไม่ครบองค์ประชุมให้นัดใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันประชุมครั้งก่อน (ไม่สามารถประชุมนัดแรก กับ นัดสองในวันเดียวกันได้นะครับ) และในนัดสองนี้ก็ต้องแจ้งเจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุมเช่นเดียวกัน

Q. องค์ประชุมในการประชุมใหญ่

A. ประชุมใหญ่นัดแรกคะแนนเสียงต้องไม่น้อยกว่า 25% ของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด(มาตรา 43)  ... ประชุมใหญ่นัดสองไม่ต้องนับคะแนน มีเท่าไรถือเป็นองค์ประชุม (มาตรา 43 วรรค 2)

Q. ประธานในที่ประชุมใหญ่

A. ผู้จัดการหรือคู่สมรสของผู้จัดการจะเป็นประธานในการประชุมใหญ่ไม่ได้ (มาตรา 43 วรรค 3)

Q. ใครเป็นผู้มีสิทธิเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ

A. ตามมาตรา 42/2

Q. องค์ประชุมคณะกรรมการนิติฯ

A. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด (มาตรา 37/6)



บทความและเอกสารประกอบบทความเรื่องนี้ ขอสงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ห้ามผู้ใดนำไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาต

Copyright 2014, Jaray Ratanapitak

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การจดทะเบียนกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด (คอนโด)

สวัสดีครับ วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศจากเรื่องคอมพิวเตอร์ มาเป็นเรื่อง คอนโด (ภาษากฎหมายเรียก อาคารชุด) กันบ้าง เพราะมีโอกาสเข้าไปช่วยงานในส่วนของการขอจดทะเบียนกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด (คอนโด) มาครับ

หลังจากมีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือ ประชุมใหญ่วิสามัญ และมีการเลือกตั้ง กรรมการนิติบุคคล อาคารชุด ขึ้นมาใหม่ หรือเลือกเพิ่ม ไม่ว่าด้วยเหตุเพราะ

  • กรรมการชุดเก่าหมดวาระ (วาระ 2 ปี) หรือ 
  • กรรมการไม่พอ (ไม่ต่ำกว่า 3 แต่ไม่เกิน 9) หรือ
  • เจ้าของร่วมต้องการให้เลือกใหม่ทั้งหมด

เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้ว ได้กรรมการชุดใหม่ ... ต้องจดทะเบียนกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด นี้ต่อเจ้าพนักงานกรมที่ดิน ที่อาคารชุดนั้นตั้งอยู่

การจดทะเบียนกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

ขั้นที่ 1 : เตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
  1. หนังสือนัดประชุมเจ้าของร่วมครั้งที่ 1
  2. หนังสือนัดประชุมเจ้าของร่วมครั้งที่ 2 (ถ้ามี) 
  3. หลักฐานการส่งหนังสือนัดประชุมทางไปรษณีย์ (นัดครั้งที่ 1) ... ใบเสร็จที่ออกให้จาก ปณ. 
  4. หลักฐานการส่งหนังสือนัดประชุมทางไปรษณีย์ (นัดครั้งที่ 2 ถ้ามี) ... ใบเสร็จที่ออกให้จาก ปณ. 
  5. บัญชีรายชื่อเจ้าของห้องชุด (เรียงตามลำดับเลขที่ห้องชุด) ระบุเลขห้องชุด อัตราส่วนกรรมสิทธิ์ ลายมือชื่อผู้เข้าประชุม ต้องระบุด้วยว่าเข้าประชุมในฐานะเจ้าของร่วม หรือ ผู้รับมอบอำนาจ (มอบอำนาจได้ไม่เกิน 3 ห้องชุด)
  6. ใบลงคะแนน (ระบุเลขห้องชุด ชื่อเจ้าของห้องชุด และลงลายมือชื่อเจ้าของห้องชุดหรือผู้รับมอบฉันทะ)
  7. หนังสือมอบฉันทะ (สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบ กับ สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ แนบมาด้วยหลังใบลงคะแนน)
  8. ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด (ไม่มีไม่เป็นไรเพราะส่วนใหญ่จะมีสำเนาอยู่ที่ สำนักงานที่ดิน อยู่แล้ว)
  9. ทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด (ไม่มีไม่เป็นไร สามารถแจ้งเจ้าพนักงานทีดินให้คัดสำเนา ที่สำนักงานที่ดิน ได้เลย)
  10. บันทึกถ้อยคำกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด (1 คนต่อ 1 ฉบับ) >> ดูตัวอย่างได้ที่นี่
  11. สำเนาบัตรประชาชน ของกรรมการนิติบุคคล แต่ละท่าน
  12. สำเนาทะเบียนบ้าน ของกรรมการนิติบุคคล แต่ละท่าน
  13. หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด ของกรรมการนิติบุคคล แต่ละท่าน
  14. ทะเบียนสมรส (กรณีคู่สมรส เป็นกรรมการ)
  15. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (กรณีเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล)
  16. รายงานการประชุมครั้งที่ 1 >> ดูตัวอย่างได้ที่นี่
  17. รายงานการประชุมครั้งที่ 2 (ถ้ามี) >> ดูตัวอย่างได้ที่นี่
  18. รายงานการประชุมคณะกรรมการนิติบุคคล ในเรื่องการแต่งตั้ง ผู้จัดการนิติบุคคล >> ดูตัวอย่างได้ที่นี่
  19. หนังสือส่งตัวอย่างลายมือชื่อผู้จัดการนิติบุคคล อาคารชุด >> ดูตัวอย่างได้ที่นี่
  20. แบบฟอร์มการตรวจเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ >> หน้าที่ 1 :  หน้าที่ 2
  21. แบบฟอร์มการตรวจเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด >> ดูตัวอย่างได้ที่นี่
ขั้นที่ 2 : ให้ผู้จัดการนิติบุคคล อาคารชุด เซ็นรับรองเอกสาร (เอกสารบางเรื่องอาจมีหลายหน้า เช่น บัญชีรายชื่อเจ้าของห้องชุด ก็ไม่จำเป็นต้องเซ็นทุกหน้า เซ็นเฉพาะหน้าแรก ก็ได้)

ขั้นที่ 3 : นำเอกสารทั้งหมดที่กล่าวมาใส่แฟ้มกระดาษ เจาะรู (ผมจำไม่ได้ละว่าเรียงอย่างไร เด๋วพนักงานที่ดินบอกคุณเอง)

ขั้นที่ 4 : นำเอกสารดังกล่าวไปยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งอาคารชุดตั้งอยู่ เช่น คอนโด อยู่เขตบางพลัด ก็จะอยู่ในพื้นที่ของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อย แจ้งเจ้าหน้าที่ออกบัตรคิวว่า "มาจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด และ จดผู้จัดการ" เจ้าหน้าที่จะได้ออกบัตรคิวให้ต่อเนื่องกัน) ถ้าเอกสารโดยรวมเรียบร้อยไม่มีอะไรผิดพลาด เจ้าพนักงานที่ดิน จะรับคำร้องขอจดทะเบียนเอาไว้ อ่อ เสียค่าธรรมเนียมนิดหน่อยคอนโดที่ผมอยู่มี 589 ห้อง พกไป 1,000 บาท มีทอนกลับมา

*** ฉะนั้นวันไปสำนักงานที่ดินเตรียม แม็กเย็บกระดาษ , ที่เจาะรูกระดาษ , เครื่องคิดเลข , ปากกา ไปให้พร้อม ***

ขั้นที่ 5 : ใช้ระยะเวลาตรวจเอกสารประมาณ 7 วันทำการ (เอกสารต้องผ่านการตรวจสอบ หลายระดับ ครับ ไม่ใช่ยื่นปุ๊ปได้ปั๊ป วางแผนกันดี ดี)

ขั้นที่ 6 : เจ้าพนักงานที่ดินจะโทร.มาแจ้ง มี 2 กรณี คือ ผ่านมารับเอกสารการจดทะเบียนได้ หรือ ไม่ผ่านเพราะเอกสารไม่สมบูรณ์ ตรงไหน ต้องแก้ยังไง 

กรณี ผู้จัดการ นิติบุคคลฯ มอบฉันทะให้ผู้อื่นดำเนินการจดทะเบียนแทนจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการ และ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ ยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อเป็นหลักฐานด้วย

หวังว่าบทความนี้จะช่วยเป็นแนวทางให้กับกรรมการฯ มือใหม่ในการเริ่มต้นงานแรกที่ต้องทำนะครับ ... คอนโดจะพัฒนา ได้ นอกจากได้กรรมการฯ ดีแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ความร่วมมือ ร่วมใจของ เจ้าของร่วมทุกคนครับ


บทความและเอกสารประกอบบทความเรื่องนี้ ขอสงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ห้ามผู้ใดนำไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาต

Copyright 2014, Jaray Ratanapitak

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้ Solver ใน Microsoft Excel ตอนที่ 4

ตัวอย่างที่ 3

ร้านจำหน่ายยาแห่งหนึ่งต้องการที่จะจำหน่ายยา 2 ประเภท คือ ยาเม็ดและยาน้ำโดยยาเม็ดเวลาจำหน่ายจะได้กำไรชุดละ 32 บาท ส่วนยาน้ำได้กำไรชุดละ 24 บาท

ในการผลิตยาทั้งสองชนิดนี้ จะต้องผ่านขั้นตอนการผลิตสองชั้นตอน คือ การผสมตัวยา และการบรรจุ จากการสำรวจเวลาทำงานพบว่า เวลาสำหรับผสมตัวยามีอยู่ 120 ชั่วโมง และเวลาสำหรับบรรจุมีอยู่ 96 ชั่วโมง

การผสมตัวยาสำหรับยาเม็ดแต่ละชุด จะใช้เวลา 8 ชั่วโมง และนำไปบรรจุจะใช้เวลา 4 ชั่วโมง สำหรับการผสมยาน้ำจะใช้เวลาชุดละ 4 ชั่วโมง แต่เวลานำไปบรรจุ จะต้องใช้เวลา 8 ชั่วโมง
จงสร้างตัวแบบการโปรแกรมเชิงเส้น และหาคำตอบจำนวนผลิตยาที่ได้กำไรสูงสุด

มาลองใช้ Solver หาคำตอบกันครับ

ขั้นที่ 1 : สร้าง File Excel ตามรูป

คลิกเพื่อขยายภาพ


จากโจทย์เราจะได้

ตัวแปร [Variable] ดังนี้
  1. x1 = ยาเม็ด
  2. x2 = ยาน้ำ
ข้อจำกัด [Constraints] ดังนี้
  1. เวลาผสมไม่เกิน 120 ชั่วโมง
  2. เวลาบรรจุไม่เกิน 96 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์ [Objective] คือ กำไรสูงสุด คือ (x1 * กำไรต่อชุด) + (x2 * กำไรต่อชุด)

ขั้นที่ 2 : เมื่อเรารู้หลักการแล้วจึงนำมาใส่สูตรโดย
  1. cell D3 พิมพ์สูตรดังนี้ =($B$2*B3)+($C$2*C3)
  2. copy สูตรมาวางที่ cell D7:D8
** ถ้าทำถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น 0 **

ขั้นที่ 3 : ให้ Solver คำนวณผลลัพธ์ออกมาให้ ดังนี้
  1. ไปที่เมนู Data > Solver
  2. กำหนด Objective Cell ในที่คือ cell D3
  3. กำหนด Changing Variable Cells ในที่นี้คือ cell B2:C2
  4. คลิกปุ่ม Add เพื่อกำหนดข้อจำกัด [Constraints]
คลิกเพื่อขยายภาพ


ได้หน้าต่างดังรูป กำหนดค่าดังนี้
  1. คลิกช่อง Cell Reference : เลือก cell D7
  2. คลิกเลือกเครื่องหมายเปรียบเทียบให้ถูกต้องตามข้อจำกัด [<= , = , >=]
  3. คลิกช่อง Constraints : เลือก cell F7
  4. คลิกปุ่ม Add
  5. คลิกช่อง Cell Reference : เลือก cell D8
  6. คลิกเลือกเครื่องหมายเปรียบเทียบให้ถูกต้องตามข้อจำกัด [<= , = , >=]
  7. คลิกช่อง Constraints : เลือก cell F8
  8. คลิกปุ่ม OK
คลิกเพื่อขยายภาพ

ได้หน้าต่างดังรูป > คลิกปุ่ม Solve

คลิกเพื่อขยายภาพ


ได้หน้าต่างดังรูป เราสามารถเลือกแสดงผลลัพธ์แบบต่าง  ๆ ได้ดังนี้

คลิกเพื่อขยายภาพ

  • ถ้าเลือกเป็น Keep Solver Solution – Excel จะเปลียนค่าเซลล์ให้เลย
  • ถ้าเลือกเป็น Restore Original Values – Excel จะแสดงค่าเดิมก่อนการคำนวณออกมา
  • ถ้าต้องการให้แสดงรายงาน สามารถคลิกเลือก Reports ต่างๆ ได้ (กดปุ่ม Shift เพื่อคลิกเลือก Report หลายฉบัยพร้อมกัน)
  • ปุ่ม Save Scenario ใช้สำหรับบันทึก Scenario เก็บไว้ เพื่อให้ Scenario Manger สามารถนำค่านี้ไปใช้คำนวณต่อได้




บทความที่เกี่ยวข้อง 

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้ Solver ใน Microsoft Excel ตอนที่ 3

ตัวอย่างที่ 2

ผู้ลงทุนรายหนึ่ง มีเงินสดอยู่ 500,000 บาท ประสงค์จะนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่ 5 ประเภทด้วยกัน คือ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล และทรัพย์สินถาวร อัตราผลตอบแทนจากหลักทรัพย์แต่ละประเภทมีดังนี้คือ


หลักทรัพย์ ผลต่อแทน % ต่อปี
หุ้นสามัญ 10
หุ้นกู้ 9.5
หุ้นบุริมสิทธิ 8
พันธบัตรรัฐบาล 8.5
ทรัพย์สินถาวร 12

ผู้ลงทุนต้องการผลตอบแทนจากการลงทุสูงสุดโดยกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้ คือ

1. เงินลงทุนในหุ้นสามัญ จะต้องไม่เกินผลรวมของเงินทุนทั้งสิ้นในหุ้นบุริมสิทธิ และพันธบัตรรัฐบาล
2.เงินลงทุนในหุ้นกู้และทรัพย์สินถาวร รวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าเงินลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิ์
3.เงินลงทุนในหุ้นกู้ จะต้องไม่มากกว่าเงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล
4.เงินลงทุนในทรัพย์สินถาวร จะต้องไม่มากกว่าเงินลงทุนในหุ้นกู้

ผู้ลงทุนควรลงทุนอย่างไรจึงจะได้ผลตอบแทนสูงที่สุด

มาลองใช้ Solver หาคำตอบกันครับ

ขั้นที่ 1 : สร้าง File Excel ตามรูป

คลิกเพื่อขยายภาพ


จากโจทย์เราจะได้

ตัวแปร [Variable] ดังนี้
  1. x1 = หุ้นสามัญ 
  2. x2 = หุ้นกู้
  3. x3 = หุ้นบุริมสิทธิ
  4. x4 = พันธบัตรรัฐบาล
  5. x5 = ทรัพย์สินถาวร
ข้อจำกัด [Constraints] ดังนี้
  1. เงินลงทุนในหุ้นสามัญ จะต้องไม่เกินผลรวมของเงินทุนทั้งสิ้นในหุ้นบุริมสิทธิ และพันธบัตรรัฐบาล (x1 <= x3+x4)
  2. เงินลงทุนในหุ้นกู้และทรัพย์สินถาวร รวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าเงินลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิ์ (x2 + x5 >= x3)
  3. เงินลงทุนในหุ้นกู้ จะต้องไม่มากกว่าเงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล (x2 <= x4)
  4. เงินลงทุนในทรัพย์สินถาวร จะต้องไม่มากกว่าเงินลงทุนในหุ้นกู้ (x5 <= x2)
  5. มีเงินลงทุนอยู่ไม่เกิน 500,000 บาท (x1+x2+x3+x4+x5 <= 500,000)
*** แก้สมการโดยการทำข้างขวาให้เป็น 0 แล้วย้ายตัวแปรมาฝั่งซ้ายเป็นค่าติดลบ จึงใส่ -1 ลงไปในตาราง excel ***

วัตถุประสงค์ [Objective] คือ ผลตอบแทนสูงที่สุด คือ จำนวนเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ x ผลตอบแทนต่อปี

ขั้น 2 : เมื่อเรารู้หลักการแล้วจึงนำมาใส่สูตรโดย
  1. cell G3 พิมพ์สูตร ดังนี้ =(B3*$B$2)+(C3*$C$2)+(D3*$D$2)+(E3*$E$2)+(F3*$F$2)
  2. copy สูตรมาวางที่ cell G5:G9
** ถ้าทำถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น 0 **

ขั้นที่ 3 : ให้ Solver คำนวณผลลัพธ์ออกมาให้ ดังนี้
  1. ไปที่เมนู Data > Solver
  2. กำหนด Objective Cell ในที่คือ cell G3
  3. กำหนด Changing Variable Cells ในที่นี้คือ cell B2:F2
  4. คลิกปุ่ม Add เพื่อกำหนดข้อจำกัด [Constraints]
  5. กำหนดข้อจำกัดโดยเลือก Cell Reference , เครื่องหมายเปรียบเทียบ , Cell Constraints ให้่ถูกต้อง ถ้าทำถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ตามรูป
  6. คลิกปุ่ม Solve
  7. เลือกตัวเลือกตามต้องการ

คลิกเพื่อขยายภาพ

*** สามารถดูวิธีการ Add Constraints และรายละเอียดของ Solver Results ได้ที่ บทความตอนที่ 2 นะครับ ***



บทความที่เกี่ยวข้อง 

วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้ Solver ใน Microsoft Excel ตอนที่ 2

หลังจากเรารู้แล้วว่า Solver ใน Microsoft Excel มีไว้ทำอะไร วันนี้เราลองมาดูตัวอย่างการใช้งาน Solver กันสักหน่อยเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นครับ

ตัวอย่างที่ 1

คุณนกจะออกร้านในงานเอื้อฟ้า หลังจากติดต่อกับฝ่ายสถานที่แล้ว คุณนกได้ชั้นวางสินค้า มีความยาวทั้งสิ้น 100 เมตร คุณนกตั้งงบประมาณที่จะใช้ลงทุนในสินค้าทั้งหมดไม่เกิน 24,000 บาท สินค้าที่นำมาวางขายนั้นจะเป็นเครื่องกระป๋อง และเครื่องดื่ม เครื่องกระป๋องต้องลงทุนเมตรละ 200 บาท เครื่องดื่มต้องลงทุนเมตรละ 300 บาท กำไรที่จะได้จากเครื่องกระป๋อง เมตรละ 15 บาท เครื่องดื่ม เมตรละ 20 บาท จงสร้างตัวแบบการโปรแกรมเชิงเส้น เพื่อที่จะหาว่าคุณนกจะจัดสรรเนื้อที่อย่างไร เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด

จากโจทย์เราอยากรู้ว่าคุณนกต้องวางขายเครื่องกระป๋องกี่เมตร เครื่องดื่มกี่เมตร ถึงจะได้กำไรสูงที่สุด ???  มาลองใช้ Solver หาคำตอบกันครับ

ขั้นที่ 1 : สร้างไฟล์ Excel ตามรูป

คลิกเพื่อขยายภาพ


จากโจทย์เราจะได้

ตัวแปร [Variable] ดังนี้
  1. x1 = เครื่องกระป๋อง 
  2. x2 = เครื่องดื่ม
ข้อจำกัด [Constraints] ดังนี้
  1. เนื้อที่ชั้นวางสินค้า = ไม่เกิน 100 เมตร
  2. งบประมาณที่ใช้ลงทุน = ไม่เกิน 24,000 บาท
วัตถุประสงค์ [Objective] คือ กำไรสูงสุด ซึ่งได้มาจาก (x1 * จำนวนเมตร) + (x2 * จำนวนเมตร)

ขั้นที่ 2 : เมื่อเรารู้หลักการแล้วจึงนำมาใส่สูตรโดย
  1. cell D3 พิมพ์สูตรดังนี้ =($B$2*B3)+($C$2*C3)
  2. copy สูตรมาวางที่ cell D7:D8
** ถ้าทำถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น 0 **

ขั้นที่ 3 : ให้ Solver คำนวณผลลัพธ์ออกมาให้ ดังนี้

  1. ไปที่เมนู Data > Solver
  2. กำหนด Objective Cell ในที่คือ cell D3
  3. กำหนด Changing Variable Cells ในที่นี้คือ cell B2:C2
  4. คลิกปุ่ม Add เพื่อกำหนดข้อจำกัด [Constraints]


คลิกที่รูปเพื่อขยายภาพ

ได้หน้าต่างดังรูป กำหนดค่าดังนี้
  1. คลิกช่อง Cell Reference : เลือก cell D7
  2. คลิกเลือกเครื่องหมายเปรียบเทียบให้ถูกต้องตามข้อจำกัด [<= , = , >=]
  3. คลิกช่อง Constraints : เลือก cell F7
  4. คลิกปุ่ม Add
  5. คลิกช่อง Cell Reference : เลือก cell D8
  6. คลิกเลือกเครื่องหมายเปรียบเทียบให้ถูกต้องตามข้อจำกัด [<= , = , >=]
  7. คลิกช่อง Constraints : เลือก cell F8
  8. คลิกปุ่ม OK
คลิกที่รูปเพื่อขยายภาพ


ได้หน้าต่างดังรูป > คลิกปุ่ม Solve

คลิกที่รูปเพื่อขยายภาพ


ได้หน้าต่างดังรูป เราสามารถเลือกแสดงผลลัพธ์แบบต่าง  ๆ ได้ดังนี้

คลิกที่รูปเพื่อขยายภาพ


  • ถ้าเลือกเป็น Keep Solver Solution – Excel จะเปลียนค่าเซลล์ให้เลย
  • ถ้าเลือกเป็น Restore Original Values – Excel จะแสดงค่าเดิมก่อนการคำนวณออกมา
  • ถ้าต้องการให้แสดงรายงาน สามารถคลิกเลือก Reports ต่างๆ ได้ (กดปุ่ม Shift เพื่อคลิกเลือก Report หลายฉบัยพร้อมกัน)
  • ปุ่ม Save Scenario ใช้สำหรับบันทึก Scenario เก็บไว้ เพื่อให้ Scenario Manger สามารถนำค่านี้ไปใช้คำนวณต่อได้



อ่านเนื้อหาตอนแรก ได้ที่ : ตัวอย่างการใช้ Solver ใน Microsoft Excel ตอนที่ 1 Solver คืออะไร ???



อ้างอิง

http://www.cleverdrive.net/275/solver-excel-2003/

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้ Solver ใน Microsoft Excel ตอนที่ 1

สวัสดีครับวันนี้เราจะมาลองใช้งาน Add-Ins ตัวหนึ่งของ Microsoft Excel ที่ชื่อว่า Solver กันครับ

Solver คืออะไร ???

Solver ก็คือเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณประเภท Linear Programming (โปรแกรมเชิงเส้น) โดยจะช่วยในการหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด ดีที่สุด (Optimization) จากข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่มีอยู่

ยกตัวอย่างเช่น 

คุณนกจะออกร้านในงานเอื้อฟ้า หลังจากติดต่อกับฝ่ายสถานที่แล้ว คุณนกได้ชั้นวางสินค้า มีความยาวทั้งสิ้น 100 เมตร คุณนกตั้งงบประมาณที่จะใช้ลงทุนในสินค้าทั้งหมดไม่เกิน 24,000 บาท สินค้าที่นำมาวางขายนั้นจะเป็นเครื่องกระป๋อง และเครื่องดื่ม เครื่องกระป๋องต้องลงทุนเมตรละ 200 บาท เครื่องดื่มต้องลงทุนเมตรละ 300 บาท กำไรที่จะได้จากเครื่องกระป๋อง เมตรละ 15 บาท เครื่องดื่ม เมตรละ 20 บาท จงสร้างตัวแบบการโปรแกรมเชิงเส้น เพื่อที่จะหาว่าคุณนกจะจัดสรรเนื้อที่อย่างไร เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด

จากตัวอย่างข้างต้นเราจะใช้ Solver มาช่วยในการคำนวณหาว่าเราควรวางขายเครื่องกระป๋องกี่เมตร เครื่องดื่มกี่เมตร

Solver แตกต่างจาก Goal Seek อย่างไร ???

  • เครื่องมือทั้งคู่ทำหน้าที่ทดลองค่าแทนลงไปในเซลล์รับตัวแปร (Changing Cells) ซึ่งห้ามเป็นเซลล์สูตร โดย Solver สามารถใช้ตัวแปรได้มากถึง 200 ตัว (หรือมากกว่านั้นหากใช้ Solver แบบพิเศษของ www.Solver.com) ส่วน Goal Seek ใช้ตัวแปรได้เพียงตัวเดียว
  • เซลล์ผลลัพธ์เป้าหมาย (Target Cell) ของ Solver สามารถเลือกให้เป็นค่า Maximize, Minimize, หรือ Optimize ให้ได้ค่าใดค่าหนึ่ง ในขณะที่ Goal Seek หาค่าแบบ Optimize เท่านั้น
  • Solver รับเงื่อนไข (Constraints) ได้โดยตรง เพื่อใช้ควบคุมให้คำตอบที่ได้นั้นต้องบรรลุเงื่อนไขที่กำหนดด้วย ส่วน Goal Seek ใช้ Constraint ของ Calculation Options
  • การสั่ง Solver ต้องเรียกใช้ผ่าน Add-ins ซึ่ง Microsoft จัดเตรียมไว้ให้ใช้โดยไม่ต้องหาซื้อเพิ่มแต่อย่างใด ส่วน Goal Seek เป็นคำสั่งมาตรฐานที่เรียกใช้ได้ทันที

ข้อควรระวังในการใช้ Solver

  • หากต้องการสั่งให้ Solver พิมพ์รายงาน ให้คลิกเลือกชื่อรายงานในช่อง Reports (เป็นช่องด้านขวาของ Solver Results ตามภาพข้างบนนี้) แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่สั่ง Protect Workbook ไว้ก่อน
  • เงื่อนไขในส่วนของ Constraints เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ Solver สามารถหาค่าที่ต้องการ หากกำหนด Constraints ไว้ไม่ครบถ้วนก็จะส่งผลให้ไม่สามารถหาคำตอบที่ต้องการหรืออาจเกิดคำตอบที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เช่น ในปัญหาการผลิตถ้าลืมกำหนด Constraints ให้เป็นจำนวนเต็ม ก็จะได้คำตอบจำนวนผลิตที่มีเศษทศนิยม หรือถ้าไม่ได้กำหนดให้เป็นค่าที่มากกว่าหรือเท่ากับ 0 ก็จะได้คำตอบที่เป็นเลขติดลบ

การเรียกใช้งาน Solver

เนื่องจาก Solver เป็น Add-Ins ตัวหนึ่งที่อยู่ใน Microsoft Excel ดังนั้นเราจึงต้องสั่งการให้เรียกเครื่องมือ Solver ขึ้นมา โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เปิดโปรแกรม Microsoft Excel > คลิกเมนู File > Option > ได้หน้าต่าง Excel Option  > เลือก Add-Ins > คลิกปุ่ม Go... 



2. คลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้า Solver Add-in > คลิก OK



3. ที่เมนู Data ของ Microsoft Excel จะมีเครื่องมือ Solver ปรากฎขึ้นมาตามรูป

คลิกที่รูปเพื่อขยายภาพ


สำหรับตอนนี้ขอพักไว้แค่นี้ก่อนครับ ตอนหน้าเราจะมาลองทำแบบฝึกหัดใช้งาน Solver กันครับ

อ่านตอนที่ 2 ได้ที่ : ตัวอย่างการใช้ Solver ใน Microsoft Excel ตอนที่ 2



อ้างอิง


วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2557

มาตรฐานการตั้งชื่อตัวแปร Variables Notation

การตั้งชื่อตัวแปรแบบมาตรฐานมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ

1. cameICase notation  หรืออาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า medial capitals เป็นการตั้งชื่อตัวแปรโดยจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตัวเล็ก และตัวอักษรของคำถัดไปจะขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่  เช่น  backColor , firstName, iName

2. Hungarian notation  เป็นการตั้งชื่อโดยกำหนดตัวอักษรย่อชนิดของตัวแปรที่ใช้  โดยตัวอักษรย่อนี้จะต้องเป็นตัวเล็กและนำหน้าชื่อตัวแปรอีกที เช่น

lName : l เป็นตัวอักษรย่อของข้อมูลชนิด long
aName : a เป็นตัวอักษรย่อของข้อมูลชนิด Array
bCheck : b เป็นตัวอักษรย่อของข้อมูลชนิด Boolean

3.pascal notation  ตัวอักษรแรกของแต่ละคำจะเป็นตัวใหญ่ส่วนตัวอักษรอื่น ๆ ที่ไม่ได้ขึ้นต้นคำนั้นก็จะเป็นตัวเล็ก  เช่น  BackColor, NumberValue



ขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือ หนทางสู่อาชีพโปรแกรมเมอร์ สั่งซื้อได้ที่ NetDesign

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

กระบวนการเขียนโปรแกรม Programming Process

กระบวนการเขียนโปรแกรม (Programming  Process) จะเป็นลำดับขั้นตอนในการสร้างโปรแกรมซึ่งจะประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ

1.ขั้นตอนการกำหนดปัญหา

เป็นขั้นตอนแรกก่อนที่จะเขียนโปรแกรมจะต้องรู้ปัญหาก่อนว่าปัญหานั้นคืออะไรซึ่งปัญหาต่าง ๆ นี้ให้พิจารณาจากโปรแกรมต้องทำอะไร, ข้อมูลนำเข้าที่ป้อนให้กับโปรแกรมคืออะไรและผลลัพท์ที่ได้คืออะไร

2.การออกแบบโปรแกรม

ในการออกแบบโปรแกรมนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของอัลกอริทึมซึ่งจะต้องให้โปรแกรมนั้นสามารถทำงานเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการและมีประสิทธิภาพได้ในการออกแบบโปรแกรมจะต้องพิจารณาถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

  • ต้องออกแบบให้มีประสิทธิภาพยืดหยุ่น
  • ต้องออกแบบให้ง่ายต่อการแก้ไขและง่ายต่อการพัฒนา
  • ต้องออกแบบให้ถูกต้องไม่ทำให้โปรแกรมผิดเพี้ยน
  • ต้องออกแบบให้ง่ายต่อการเข้าใจโดยสามารถทำให้โปรแกรมเมอร์คนอื่น ๆ เข้าใจในสิ่งที่เราออกแบบได้ได้วย

3.การเขียนชุดคำสั่ง

ขั้นตอนนี้จะเรียกว่าการ Coding เป็นการเขียนคำสั่งต่าง ๆ ตามโปรแกรมที่ได้ออกแบบไว้ซึ่งถ้าเราออกแบบไว้ดีผลลัพธ์ที่ได้ก็จะได้โปรแกรมที่มีการทำงานถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

4.การทดสอบโปรแกรมและดีบักโปรแกรม

เป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในขั้นตอนนี้ก็สามารถแก้ไขโปรแกรมใหม่ได้ ถ้าไม่มีขั้นตอนนี้หากเขียนเสร็จแล้วสั่งให้ผู้ใช้งานใช้โปรแกรมถ้าเกิดปัญหาขึ้นระหว่างการใช้งานก็อาจทำให้ผู้ใช้งานไม่พอใจได้  ต้องส่งกลับมาแก้อีกทีทำให้เสียเวลา  ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ลืมไม่ได้เลย ซึ่งการทดสอบหรือ Testing จะหมายถึง การทดสอบว่าโปรแกรมนั้นให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามกำหนดไว้หรือไม่ซึ่งผู้ทีทำการทดสอบโปรแกรมจะมีการใส่ข้อมูลที่จะทดสอบลงไปในโปรแกรมดูถ้าผลลัพธ์ถูกต้องก็แสดงว่าโปรแกรมนี้ใช้งานได้แต่ถ้าผลลัพธ์ไม่ถูกต้องก็ต้องนำกลับไปแก้ใหม่  ส่วนการดีบัก (Debugging) จะเป็นการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโปรแกรม

ข้อแตกต่างระหว่างการทดสอบ (Testing) และการดีบัก (Debugging)


  • การทดสอบโปรแกรมจะเริ่มทดสอบด้วยการรู้เงื่อนไข, รู้ข้อมูลที่จะทดสอบและรู้ผลลัพธ์หลังจากที่ใส่ข้อมูลทดสอบลงไปในโปรแกรมแล้วส่วนการดีบักเริ่มต้นการตรวจสอบที่ยังไม่รู้เงื่อนไขต่าง ๆ และไม่รู้ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
  • การทดสอบสามารถให้ผู้ทำหน้าที่ทดสอบ (Software Tester) หรือบุคคลอื่น ๆ ทดสอบได้ แต่การดีบักจะต้องให้ผู้เขียนโปรแกรมเท่านั้นเป็นคนตรวจสอบ
  • การทดสอบเป็นการตรวจสอบหรือทดลองความผิดพลาดของโปรแกรมเมอร์ว่าโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมผิดพลาดทำให้ได้ผลลัพธ์ไม่ตรงกับที่ต้องการหรือไม่  ส่วนการดีบักเป็นการแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก่อนที่จะส่งโปรแกรมไปทดสอบ


ขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือ หนทางสู่อาชีพโปรแกรมเมอร์ สั่งซื้อได้ที่ NetDesign
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฏีการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ได้ที่ : http://sdlcth.blogspot.com

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Water Fall Model

Water Fall Model เป็นกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบลำดับขั้นตอนจากบนลงล่าง (เหมือนน้ำตกโดยกระแสน้ำจะไหลจากข้างบนลงสู่ข้างล่างเสมอ) โดยจะมีการแบ่งขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

  1. Requirement เป็นขั้นตอนในการกำหนดปัญหารวมถึงกำหนดเป้าหมายและกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบ
  2. Analysis เป็นขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัญหาและการทำงานต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์
  3. Design  เป็นการออกแบบโปรแกรมเพื่อที่จะให้โปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  4. Coding  เป็นขั้นตอนในการเขียนโปรแกรมตามที่ได้ออกแบบไ้ว้ในขึ้นตอนที่ 3
  5. Testing เป็นขั้นตอนในการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรม  ซึ่งรวมไปถึงการทดสอบในเรื่องของความปลอดภัยของโปรแกรมด้วย
  6. Maintenance เป็นขั้นตอนในการบำรุงรักษาและการพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบลำดับขั้นตอนจากบนลงล่าง Water Fall Model
Water Fall Model



ขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือ หนทางสู่อาชีพโปรแกรมเมอร์ สั่งซื้อได้ที่ NetDesign
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://sdlcth.blogspot.com/2012/11/waterfall-model.html

วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

การจำลองเครื่องเป็น Web Server ด้วยโปรแกรม XAMPP

การเขียน Website ที่มีการใช้ระบบฐานข้อมูล (Database) หรือการเขียน Web Application นั้น ถ้าเราต้องการดูผลลัพธ์ที่ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก่อนที่จะทำการ Upload เว็บขึ้นไปบน Hosting  เราจำเป็นที่จะต้องจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้ทำงานเป็น Web Server เสียก่อน

โปรแกรมที่ใช้จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น Web Server เพื่อทดสอบการเขียนเว็บนั้นมีหลายยี่ห้อ เช่น Appserv, XAMPP, WAMP เป็นต้น ในบทความนี้จะสาธิตการจำลองเครื่องเป็น Web Server ด้วยโปรแกรม XAMPP นะครับ  พร้อมแล้วเราไปดูขั้นตอนการจำลองเครื่องให้เป็น Web Server ด้วยโปรแกรม XAMPP กันเลยครับ

ขั้นตอนการติดตั้ง 

ขั้นตอนที่ 1 : ก่อนอื่นเราต้อง Download โปรแกรม XAMPP กันก่อน สามารถ Download โปรแกรมได้ที่ http://goo.gl/DHZohx  เวอร์ชั่นที่ให้ Download เป็นเวอร์ชั่น 1.8.1  สำหรับท่านที่ต้องการเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดสามารถ Download ได้ที่เว็บของ XAMPP โดยตรงรับ

ขั้นตอนที่ 2 : เราจะได้ไฟล์ xampp-win32-1.8.1-VC9.7z  (ต้องใช้ Winrar หรือ 7Zip ในการแตกไฟล์นะครับ)  ให้เราคลิกขวาที่ไฟล์ดังกล่าวเลือก Extract File... จะได้หน้าต่างตามรูป > คลิกเลือก Drive C: > คลิกปุ่ม OK



ขั้นตอนที่ 3 : ที่ Drive C: เราจะได้โฟลเดอร์ xampp เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้งครับ

ขั้นตอนสั่งให้ XAMPP ทำงานครับ

ขั้นตอนที่ 1 : ดับเบิลคลิกเข้าไปในโฟลเดอร์ xampp
ขั้นตอนที่ 2 : ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ xampp-control.exe



ขั้นตอนที่ 3 : ถ้าเครื่องไม่เคยติดตั้ง XAMPP มาก่อนจะมีหน้าต่างมาให้เลือกภาษามี 2 ภาษา เราก็เลือกภาษาอังกฤษนะครับ (ธงชาติสหรัฐ)

ขั้นตอนที่ 4 : ได้หน้าต่างดังรูป ให้เราคลิกปุ่ม Start สองปุ่มในส่วนของ Apache กับ MySQL



ขั้นตอนที่ 5 : จะได้หน้าต่างเกี่ยวกับ Windows Firewall ขึ้นมาตามรูป ให้เราเลือก Allow access



ขั้นตอนที่ 6 : Service ในส่วนของ Apache กับ MySQL จะมีแถบสีเขียวขึ้นมาตามรูป



ขั้นตอนที่ 7 : เปิด Browser ขึ้นมาแล้วพิมพ์ "http://localhost"  กด enter  > จากนั้นคลิกเลือกภาษาอังกฤษ



ขั้นตอนที่ 8 : ได้ผลลัพธ์ตามรูปเป็นอันเสร็จพิธีครับ



วิธีการทดสอบ Website ก่อนจะทำการ Upload เว็บขึ้นไปไว้บน Hosting 

สำหรับคนที่เคยใช้ Appserv มาก่อนคงทราบว่าเวลาจะเก็บไฟล์เราต้องเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ www สำหรับโปรแกรม XAMPP เราจะเก็บไฟล์ไว้ที่โฟลเดอร์ htdocs นะครับ

ส่วนคนที่ไม่เคยใช้โปรแกรมมาก่อนเลยก็ขอให้เอาไฟล์เว็บที่เราทำไปเก็บไว้ที่ htdocs ตามรูป





ปล. XAMPP นั้นมีหลายเวอร์ชั่นให้เราเลือกใช้งานนะครับ อธิบายคร่าวประมาณนี้นะครับ

  • XAMPP install version : เวอร์ชั่นนี้มีเครื่องมือให้ครบทุกอย่างครับ ดับเบิลคลิก next next เป็นอันเสร็จ
  • XAMPP Portable version : เวอร์ชั่นนี้เป็นแบบ portatble แตกไฟล์ปุ๊ปใช้งานได้ทันที
  • XAMPP Portable Lite version : เวอร์ชั่นนี้เป็นแบบ portable  แต่มี service ให้ใช้งานแค่ Apache กับ MySQL เท่านั้นไม่มี FileZilla, TomCat, Mecury 
  • XAMPP 7z or Zip version : เวอร์ชั่นนี้เป็นแบบบีบอัดไฟล์มาเวลาใช้งานแตกไฟล์ แล้วดับเบิลคลิกใช้งานได้เลยเช่นเดียวกันครับ