วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประชาชาติยุคดิจิตอล Digital Nation ตอนที่ 2

บทที่ 6 : ความเสมอภาคของสภาพแวดล้อมทางการศึกษา


การยัดเยียดเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้กับสถานศึกษาในทันทีโดยไม่คำนึงถึงความพร้อมของสถานศึกษา บุคลากร และโครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม การสร้างวัฒนธรรมทางการศึกษาแบบใหม่นี้จำเป็นต้องอาศัยเวลาเพื่อให้ทั้งสถานศึกษาบุคลากร และนักเรียนได้มีโอกาสปรับตัวอย่างช้า ๆ ซึ่งผู้วางนโยบายของรัฐจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้

การจัดโครงการการศึกษานอกเวลาสำหรับเยาวชนและบุคคลทั่วไป ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยดึงดูดให้เยาวชนทีเ่กิดความเบื่อหน่ายได้เข้ามามีส่วนรวม และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้

รัฐบาลฟินแลนด์ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการฝึกอบรมครูซึ่งมีงบประมาณรวม 2.5 ล้านยูโรต่อปี  เพื่อฝึกอบรมครูทั่วประเทศนอกเหนือจากการอบรมที่แต่ละสถานศึกษาได้จัดให้มีขึ้นอยู่แล้ว

ควรปลูกฝังค่านิยมที่ว่า "คนทุกชนชั้นล้วนมีศักยภาพในการเรียนรู้และมีเกียรติศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน"

ความเสมอภาคทางการศึกษามีการโต้เถียงกันอยู่ใน 2 ประเด็นหลักได้แก่

  1. ประเด็นของ "ความเสมอภาคของทรัพยากร" ซึ่งเกี่ยวกับการสรรหาวิธีที่เหมาะสมในการจัดสรรเงินภาษีเพื่อใช้สนับสนุนการศึกษาในแต่ละส่วนของประเทศอย่างเหมาะสม
  2. ประเด็นของ "ความพอเพียงของการศึกษา" ซึ่งเกี่ยวกับการพิจารณาความสมดุล ระหว่างวัตถุดิบทางการศึกษา (เช่น ครูอาจารย์, อุปกรณ์, หลักสูตร ฯลฯ) กับผลผลิตทางการศึกษา (เช่น ผลการเรียนของนักเรียน) ซึ่งผลการพิจารณานี้จะถูกนำไปใช้ประกอบการพิจารณาคดีความที่มีการฟ้องร้องภาครัฐเกี่ยวกับความไม่เพียงพอของระบบการศึกษาในปัจจุบัน

การตัดสินใจขยายเวลาทำการของโรงเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนและบุคคลภายนอกสามารถเข้ามาใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในสถานศึกษาได้ ซึ่งจะช่วยให้ระบบการศึกษาในโรงเรียนและนอกโรงเรียนมีความเกี่ยวเนื่องกันมากยิ่งขึ้น

ปัจจัยความไม่แน่นอนหลายประการ อาทิ การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ความไม่แน่นอนด้านงบประมาณ และการให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษา การเปลี่ยนแปลงโครงการ และนโยบายทางการศึกษาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้การพัฒนาที่ได้ดำเนินการมายังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร

กรณีศึกษาประเทศเยอรมนี


กรณีของประเทศเยอรมนีซึ่งมีอัตราการว่างงานที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม OECD คือ การที่รัฐวางนโยบายให้เยาวชนได้เริ่มทำงานตั้งแต่อยู่ในวัยเรียน และส่งเสริมให้พวกเขาได้รับการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง

ปรัชญาการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของเยอรมัน ซึ่งตั้งอยู่บนหลัก 3 ประการ คือ โครงข่ายพื้นฐาน ความสามารถของบุคลากร และเนื้อหา

กรณีประเทศฟินแลนด์  


  • ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยสร้างความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ผ่านสถานศึกษาหลากหลายรูปแบบ อาทิ โรงเรียน ห้องสมุด บ้าน ที่ทำงาน เป็นต้น
  • ส่งเสริมให้เกิดการจัดเตรียมสถานศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตอีกด้วย โดยลบล้างค่านิยมเก่า ๆ ที่การศึกษาจะสามารถได้รับจากการเรียนในสถานศึกษาตามหลักสูตรมาตรฐานเท่านั้น
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการเรียนของเยาวชนก็ถือเป็นกลไกสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้
  • ขยายโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยี และการฝึกอบรมทักษะผ่านโครงการการศึกษานอกโรงเรียน
  • ส่งเสริมการฝึกงานของเยาวชนในวัยเรียนก็ถือว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกัน

นโยบายการพัฒนาที่จำเป็น


  1. ความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างภาครัฐและเอกชนถือเป็นสิ่งที่มีคามสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้การพัฒนาสามารถเกิดขึ้นได้ในวงกว้าง
  2. การจัดให้มีแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม ถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถละเลยได้
  3. เงินทุนสนับสนุนที่เพียงพอและต่อเนื่องในระดับประเทศเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การพัฒนาสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
  4. ทักษะและความชำนาญของบุคลากรที่เกี่ยวข้องถือเป็นแรงผลักดันสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทที่ 7 : หนุ่มสาวยุคไร้สาย ความกระปรี้กระเปร่าของโลกอินเตอร์เน็ต


่ความรู้ทางดิจิตอลนั้นควรได้รับการยอมรับว่า เป็นความรู้พื้นฐานอีกอย่างหนึ่งเทียบเท่ากับความรู้ในด้านการใช้ภาษาและคณิตศาสตร์  นอกจากนี้สังคมยังควรตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีดังกล่าวที่จะช่วยสนับสนุนค่านิยมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและประชาธิปไตย

การปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตนี้จะประสบผลสำเร็จได้ ยังมีสิ่งที่ต้องพิจารณาอีกหลายประการด้วยกันคือ

  1. การให้ความสำคัญต่อการให้ข้อมูลและการรับข้อมูล ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่ในระบบออนไลน์มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องต่าง ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเมือง แต่มักไม่ยอมเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างออกไป  ในขณะที่การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตนถือเป็นส่ิงสำคัญ เยาวชนก็จำเป็นต้องรับฟังความเห็นของผู้อื่นและร่วมมือซึ่งกันและกันเพื่อแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่อย่างเหมาะสม
  2. การที่ปัจจุบันมีเว็บไซต์เชิงพาณิชย์จำนวนมากที่จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นหรือดำเนินการเลือกตั้งแบบจำลองขึ้่น เพื่อก่อให้เกิดการรวมตัวกันของผู้ที่มีความคิดเห็นร่วมกันไว้เป็นกลุ่ม แทนที่จะส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ที่มีความเห็นแตกต่างกัน เราควรหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มทางความคิดที่จะทำให้เกิดการต่อต้านฝ่ายตรงข้าม แต่ควรจุดประกายความคิดให้กับคนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิผล
  3. ในเว็บไซต์ประเภทชุมชนออนไลน์มักมีการจัดแบ่งกลุ่มสนทนาออกตามประเภทความสนใจ ทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักเข้าร่วมเฉพาะในกลุ่มสนทนาที่มีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกับตนเท่านั้นซึ่งสิ่งนี้ทำให้ชุมชนออนไลน์ีลักษณะที่ไม่แตกต่างจากชุมชนที่เป็นอยู่จริงในชีวิตประจำวัน  อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเช่นนี้ย่อมบดบังศักยภาพของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในการเปิดโอกาสให้คนจากทั่วทุกมุมโลกติดต่อสื่อสารกันอย่างอิสระ และสร้างความเป็นไปได้ในการปรับความเข้าใจระหว่างกลุ่มคนที่มีความเห็นแตกต่างกันให้หมดไป  ผู้ดูแลเว็บไซต์ประเภทดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นผู้มีส่วนประกอบสำคัญในการควบคุมบทสนทนาที่ดำเนินไปในระบบออนไลน์ให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ  ยิ่งไปกว่านี้ซอฟแวร์ใหม่ ๆ ที่กำลังถูกพัฒนาขึ้นสำหรับระบบลักษณะนี้ก็ควรได้รับการทบทวนและทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าบทสนทนาออนไลน์ที่จะเกิดขึ้นบนระบบดังกล่าวต้องเกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ


บทที่ 8 : บทสรุป


จอห์น สจวต มิลล์  "ความเสมอภาคจะเกิดในสังคมได้ก็ต่อเมื่อมีการนำเสนอความคิดหลากหลายในสังคมเท่านั้น"

สังคมดิจิตอล หมายถึง  สังคมที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาประยุกต์ใช้ภายใต้หลักการของประชาธิปไตย  เพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพและการสร้างอิสรภาพในการดำรงชีวิตของคนในสังคม



ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ ประชาชาติยุคดิจิตอล Digital Nation สั่งซื้อได้ที่ SE-ED





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น