วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

FAQ ปัญหาข้อกฎหมาย พรบ.นิติบุคคลอาคารชุด (Condo)

สวัสดีครับ สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว "การจดทะเบียนกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด (คอนโด)" มีบางเรื่องที่สามารถนำมาอธิบายเพิ่มเติมได้อีก ดังนี้

Q. พระราชบัญญัติอาคารชุดที่ใช้บังคับอยู่ปัจจุบันเป็นฉบับไหน

A. พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 4) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551  สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
ในบทความนี้จะอ้างอิงเลขมาตราจาก พรบ.อาคารชุดฯ ดังกล่าว นะครับ
Q. ที่มาของกรรมการนิติบุคคลฯ อาคารชุด

A. ตามมาตรา 37 ของ พรบ. กรรมการนิติบุคคล อาคารชุดต้องมีไม่น้อยกว่า 3 แต่ไม่เกิน 9 คน แต่งตั้งโดยที่ประชุมใหญ่ของเจ้าของร่วม หมายความว่า จะเป็นการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือ ประชุมวิสามัญ ก็ได้ แต่ในจดหมายเชิญประชุมจะต้องมีวาระเรื่องนี้ชัดเจน และมีการลงคะแนนเสียง

Q. วาระของกรรมการนิติบุคคลฯ อาคารชุด

A. ตามมาตรา 37 ของ พรบ. กรรมการนิติบุคคล มีวาระในการดำรงตำแหน่งครั้งละ 2 ปี กรณีที่มีกรรมการลาออก แล้วมีการแต่งตั้งเพิ่มเติมเข้าไปให้มีวาระเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของ กรรมการชุดนั้น ๆ ... กรรมการจะดำรงตำแหน่งเกินกว่า 2 วาระติดต่อกันไม่ได้ (พูดง่าย ๆ ก็คือห้ามเกิน 4 ปีติดต่อกัน) ยกเว้นจะหาคนมาเป็นกรรมการนิติฯ ไม่ได้

Q. คุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นกรรมการนิติฯ

A. ตามมาตรา 37/1 มี ดังนี้
  1. เจ้าของร่วมหรือคู่สมรสของเจ้าของร่วม (จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย)
  2. ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีของเจ้าของร่วม
  3. ตัวแทนของนิติบุคคลจำนวน 1 คน ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นเจ้าของร่วม
Q. ลักษณะต้องห้ามของคนที่จะมาเป็นกรรมการนิติฯ

A. ตามมาตรา 37/2

Q. การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการนิติฯ

A. พ้นตามวาระ (มาตรา 37) หรือ ตามมาตรา 37/3
  1. ตาย
  2. ลาออก
  3. ขาดคุณสมบัติตาม 37/1 หรือ มีลักษณะต้องห้ามตาม 37/2
  4. ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติตามมาตรา 44 ให้พ้นจากตำแหน่ง (คะแนนเสียงข้างมากของเจ้าของร่วมที่เข้าประชุม)
Q. อำนาจหน้าที่ของกรรมการนิติบุคคลฯ

A. ตามมาตรา 38

Q. ที่มาของผู้จัดการนิติบุคคลฯ

A. ผู้จัดการนิติบุคคลฯ มี 2 กรณี คือ

  • ผู้จัดการตามมาตรา 35/2 คือ มาจากการเลือกของที่ประชุมใหญ่ (สามัญหรือวิสามัญ ก็ได้)  โดยได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 25% ของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด (มาตรา 49)
  • ผู้จัดการชั่วคราวตามมาตรา 38(2) คือ มาจากที่ประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลฯ เลือก กรรมการ 1 คน มาทำหน้าที่ผู้จัดการนิติฯ เนื่องจากไม่สามารถเลือกผู้จัดการตามมาตรา 35/2 ได้
เจ้าของร่วมควรให้ความใส่ใจกับการประชุมสามัญหรือวิสามัญนะครับเพื่อให้คอนโด เดินหน้าบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Q. อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการนิติบุคคลฯ

A. ตามมาตรา 36

Q. หลักการในการนัดประชุมใหญ่

A. นัดประชุมให้ถูกต้องนะครับ รายละเอียดดังนี้

  • ประชุมใหญ่สามัญประจำปี : ต้องจัดปีละ 1 ครั้ง ภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของนิติบุคคลฯ และต้องมีวาระตามมาตรา 42/1
  • ประชุมใหญ่วิสามัญ :  จัดเมื่อไรก็ได้ตามมาตรา 42/2
  • การเรียกประชุมต้องทำเป็นหนังสือระบุสถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุม เรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมพร้อมรายละเอียดพอสมควร
  • ส่งให้เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันประชุม
  • กรณีประชุมนัดแรกไม่ครบองค์ประชุมให้นัดใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันประชุมครั้งก่อน (ไม่สามารถประชุมนัดแรก กับ นัดสองในวันเดียวกันได้นะครับ) และในนัดสองนี้ก็ต้องแจ้งเจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุมเช่นเดียวกัน

Q. องค์ประชุมในการประชุมใหญ่

A. ประชุมใหญ่นัดแรกคะแนนเสียงต้องไม่น้อยกว่า 25% ของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด(มาตรา 43)  ... ประชุมใหญ่นัดสองไม่ต้องนับคะแนน มีเท่าไรถือเป็นองค์ประชุม (มาตรา 43 วรรค 2)

Q. ประธานในที่ประชุมใหญ่

A. ผู้จัดการหรือคู่สมรสของผู้จัดการจะเป็นประธานในการประชุมใหญ่ไม่ได้ (มาตรา 43 วรรค 3)

Q. ใครเป็นผู้มีสิทธิเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ

A. ตามมาตรา 42/2

Q. องค์ประชุมคณะกรรมการนิติฯ

A. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด (มาตรา 37/6)



บทความและเอกสารประกอบบทความเรื่องนี้ ขอสงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ห้ามผู้ใดนำไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาต

Copyright 2014, Jaray Ratanapitak

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การจดทะเบียนกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด (คอนโด)

สวัสดีครับ วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศจากเรื่องคอมพิวเตอร์ มาเป็นเรื่อง คอนโด (ภาษากฎหมายเรียก อาคารชุด) กันบ้าง เพราะมีโอกาสเข้าไปช่วยงานในส่วนของการขอจดทะเบียนกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด (คอนโด) มาครับ

หลังจากมีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือ ประชุมใหญ่วิสามัญ และมีการเลือกตั้ง กรรมการนิติบุคคล อาคารชุด ขึ้นมาใหม่ หรือเลือกเพิ่ม ไม่ว่าด้วยเหตุเพราะ

  • กรรมการชุดเก่าหมดวาระ (วาระ 2 ปี) หรือ 
  • กรรมการไม่พอ (ไม่ต่ำกว่า 3 แต่ไม่เกิน 9) หรือ
  • เจ้าของร่วมต้องการให้เลือกใหม่ทั้งหมด

เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้ว ได้กรรมการชุดใหม่ ... ต้องจดทะเบียนกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด นี้ต่อเจ้าพนักงานกรมที่ดิน ที่อาคารชุดนั้นตั้งอยู่

การจดทะเบียนกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

ขั้นที่ 1 : เตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
  1. หนังสือนัดประชุมเจ้าของร่วมครั้งที่ 1
  2. หนังสือนัดประชุมเจ้าของร่วมครั้งที่ 2 (ถ้ามี) 
  3. หลักฐานการส่งหนังสือนัดประชุมทางไปรษณีย์ (นัดครั้งที่ 1) ... ใบเสร็จที่ออกให้จาก ปณ. 
  4. หลักฐานการส่งหนังสือนัดประชุมทางไปรษณีย์ (นัดครั้งที่ 2 ถ้ามี) ... ใบเสร็จที่ออกให้จาก ปณ. 
  5. บัญชีรายชื่อเจ้าของห้องชุด (เรียงตามลำดับเลขที่ห้องชุด) ระบุเลขห้องชุด อัตราส่วนกรรมสิทธิ์ ลายมือชื่อผู้เข้าประชุม ต้องระบุด้วยว่าเข้าประชุมในฐานะเจ้าของร่วม หรือ ผู้รับมอบอำนาจ (มอบอำนาจได้ไม่เกิน 3 ห้องชุด)
  6. ใบลงคะแนน (ระบุเลขห้องชุด ชื่อเจ้าของห้องชุด และลงลายมือชื่อเจ้าของห้องชุดหรือผู้รับมอบฉันทะ)
  7. หนังสือมอบฉันทะ (สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบ กับ สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ แนบมาด้วยหลังใบลงคะแนน)
  8. ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด (ไม่มีไม่เป็นไรเพราะส่วนใหญ่จะมีสำเนาอยู่ที่ สำนักงานที่ดิน อยู่แล้ว)
  9. ทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด (ไม่มีไม่เป็นไร สามารถแจ้งเจ้าพนักงานทีดินให้คัดสำเนา ที่สำนักงานที่ดิน ได้เลย)
  10. บันทึกถ้อยคำกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด (1 คนต่อ 1 ฉบับ) >> ดูตัวอย่างได้ที่นี่
  11. สำเนาบัตรประชาชน ของกรรมการนิติบุคคล แต่ละท่าน
  12. สำเนาทะเบียนบ้าน ของกรรมการนิติบุคคล แต่ละท่าน
  13. หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด ของกรรมการนิติบุคคล แต่ละท่าน
  14. ทะเบียนสมรส (กรณีคู่สมรส เป็นกรรมการ)
  15. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (กรณีเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล)
  16. รายงานการประชุมครั้งที่ 1 >> ดูตัวอย่างได้ที่นี่
  17. รายงานการประชุมครั้งที่ 2 (ถ้ามี) >> ดูตัวอย่างได้ที่นี่
  18. รายงานการประชุมคณะกรรมการนิติบุคคล ในเรื่องการแต่งตั้ง ผู้จัดการนิติบุคคล >> ดูตัวอย่างได้ที่นี่
  19. หนังสือส่งตัวอย่างลายมือชื่อผู้จัดการนิติบุคคล อาคารชุด >> ดูตัวอย่างได้ที่นี่
  20. แบบฟอร์มการตรวจเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ >> หน้าที่ 1 :  หน้าที่ 2
  21. แบบฟอร์มการตรวจเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด >> ดูตัวอย่างได้ที่นี่
ขั้นที่ 2 : ให้ผู้จัดการนิติบุคคล อาคารชุด เซ็นรับรองเอกสาร (เอกสารบางเรื่องอาจมีหลายหน้า เช่น บัญชีรายชื่อเจ้าของห้องชุด ก็ไม่จำเป็นต้องเซ็นทุกหน้า เซ็นเฉพาะหน้าแรก ก็ได้)

ขั้นที่ 3 : นำเอกสารทั้งหมดที่กล่าวมาใส่แฟ้มกระดาษ เจาะรู (ผมจำไม่ได้ละว่าเรียงอย่างไร เด๋วพนักงานที่ดินบอกคุณเอง)

ขั้นที่ 4 : นำเอกสารดังกล่าวไปยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งอาคารชุดตั้งอยู่ เช่น คอนโด อยู่เขตบางพลัด ก็จะอยู่ในพื้นที่ของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อย แจ้งเจ้าหน้าที่ออกบัตรคิวว่า "มาจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการนิติบุคคล อาคารชุด และ จดผู้จัดการ" เจ้าหน้าที่จะได้ออกบัตรคิวให้ต่อเนื่องกัน) ถ้าเอกสารโดยรวมเรียบร้อยไม่มีอะไรผิดพลาด เจ้าพนักงานที่ดิน จะรับคำร้องขอจดทะเบียนเอาไว้ อ่อ เสียค่าธรรมเนียมนิดหน่อยคอนโดที่ผมอยู่มี 589 ห้อง พกไป 1,000 บาท มีทอนกลับมา

*** ฉะนั้นวันไปสำนักงานที่ดินเตรียม แม็กเย็บกระดาษ , ที่เจาะรูกระดาษ , เครื่องคิดเลข , ปากกา ไปให้พร้อม ***

ขั้นที่ 5 : ใช้ระยะเวลาตรวจเอกสารประมาณ 7 วันทำการ (เอกสารต้องผ่านการตรวจสอบ หลายระดับ ครับ ไม่ใช่ยื่นปุ๊ปได้ปั๊ป วางแผนกันดี ดี)

ขั้นที่ 6 : เจ้าพนักงานที่ดินจะโทร.มาแจ้ง มี 2 กรณี คือ ผ่านมารับเอกสารการจดทะเบียนได้ หรือ ไม่ผ่านเพราะเอกสารไม่สมบูรณ์ ตรงไหน ต้องแก้ยังไง 

กรณี ผู้จัดการ นิติบุคคลฯ มอบฉันทะให้ผู้อื่นดำเนินการจดทะเบียนแทนจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการ และ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ ยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อเป็นหลักฐานด้วย

หวังว่าบทความนี้จะช่วยเป็นแนวทางให้กับกรรมการฯ มือใหม่ในการเริ่มต้นงานแรกที่ต้องทำนะครับ ... คอนโดจะพัฒนา ได้ นอกจากได้กรรมการฯ ดีแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ความร่วมมือ ร่วมใจของ เจ้าของร่วมทุกคนครับ


บทความและเอกสารประกอบบทความเรื่องนี้ ขอสงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ห้ามผู้ใดนำไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาต

Copyright 2014, Jaray Ratanapitak

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้ Solver ใน Microsoft Excel ตอนที่ 4

ตัวอย่างที่ 3

ร้านจำหน่ายยาแห่งหนึ่งต้องการที่จะจำหน่ายยา 2 ประเภท คือ ยาเม็ดและยาน้ำโดยยาเม็ดเวลาจำหน่ายจะได้กำไรชุดละ 32 บาท ส่วนยาน้ำได้กำไรชุดละ 24 บาท

ในการผลิตยาทั้งสองชนิดนี้ จะต้องผ่านขั้นตอนการผลิตสองชั้นตอน คือ การผสมตัวยา และการบรรจุ จากการสำรวจเวลาทำงานพบว่า เวลาสำหรับผสมตัวยามีอยู่ 120 ชั่วโมง และเวลาสำหรับบรรจุมีอยู่ 96 ชั่วโมง

การผสมตัวยาสำหรับยาเม็ดแต่ละชุด จะใช้เวลา 8 ชั่วโมง และนำไปบรรจุจะใช้เวลา 4 ชั่วโมง สำหรับการผสมยาน้ำจะใช้เวลาชุดละ 4 ชั่วโมง แต่เวลานำไปบรรจุ จะต้องใช้เวลา 8 ชั่วโมง
จงสร้างตัวแบบการโปรแกรมเชิงเส้น และหาคำตอบจำนวนผลิตยาที่ได้กำไรสูงสุด

มาลองใช้ Solver หาคำตอบกันครับ

ขั้นที่ 1 : สร้าง File Excel ตามรูป

คลิกเพื่อขยายภาพ


จากโจทย์เราจะได้

ตัวแปร [Variable] ดังนี้
  1. x1 = ยาเม็ด
  2. x2 = ยาน้ำ
ข้อจำกัด [Constraints] ดังนี้
  1. เวลาผสมไม่เกิน 120 ชั่วโมง
  2. เวลาบรรจุไม่เกิน 96 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์ [Objective] คือ กำไรสูงสุด คือ (x1 * กำไรต่อชุด) + (x2 * กำไรต่อชุด)

ขั้นที่ 2 : เมื่อเรารู้หลักการแล้วจึงนำมาใส่สูตรโดย
  1. cell D3 พิมพ์สูตรดังนี้ =($B$2*B3)+($C$2*C3)
  2. copy สูตรมาวางที่ cell D7:D8
** ถ้าทำถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น 0 **

ขั้นที่ 3 : ให้ Solver คำนวณผลลัพธ์ออกมาให้ ดังนี้
  1. ไปที่เมนู Data > Solver
  2. กำหนด Objective Cell ในที่คือ cell D3
  3. กำหนด Changing Variable Cells ในที่นี้คือ cell B2:C2
  4. คลิกปุ่ม Add เพื่อกำหนดข้อจำกัด [Constraints]
คลิกเพื่อขยายภาพ


ได้หน้าต่างดังรูป กำหนดค่าดังนี้
  1. คลิกช่อง Cell Reference : เลือก cell D7
  2. คลิกเลือกเครื่องหมายเปรียบเทียบให้ถูกต้องตามข้อจำกัด [<= , = , >=]
  3. คลิกช่อง Constraints : เลือก cell F7
  4. คลิกปุ่ม Add
  5. คลิกช่อง Cell Reference : เลือก cell D8
  6. คลิกเลือกเครื่องหมายเปรียบเทียบให้ถูกต้องตามข้อจำกัด [<= , = , >=]
  7. คลิกช่อง Constraints : เลือก cell F8
  8. คลิกปุ่ม OK
คลิกเพื่อขยายภาพ

ได้หน้าต่างดังรูป > คลิกปุ่ม Solve

คลิกเพื่อขยายภาพ


ได้หน้าต่างดังรูป เราสามารถเลือกแสดงผลลัพธ์แบบต่าง  ๆ ได้ดังนี้

คลิกเพื่อขยายภาพ

  • ถ้าเลือกเป็น Keep Solver Solution – Excel จะเปลียนค่าเซลล์ให้เลย
  • ถ้าเลือกเป็น Restore Original Values – Excel จะแสดงค่าเดิมก่อนการคำนวณออกมา
  • ถ้าต้องการให้แสดงรายงาน สามารถคลิกเลือก Reports ต่างๆ ได้ (กดปุ่ม Shift เพื่อคลิกเลือก Report หลายฉบัยพร้อมกัน)
  • ปุ่ม Save Scenario ใช้สำหรับบันทึก Scenario เก็บไว้ เพื่อให้ Scenario Manger สามารถนำค่านี้ไปใช้คำนวณต่อได้




บทความที่เกี่ยวข้อง 

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้ Solver ใน Microsoft Excel ตอนที่ 3

ตัวอย่างที่ 2

ผู้ลงทุนรายหนึ่ง มีเงินสดอยู่ 500,000 บาท ประสงค์จะนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่ 5 ประเภทด้วยกัน คือ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล และทรัพย์สินถาวร อัตราผลตอบแทนจากหลักทรัพย์แต่ละประเภทมีดังนี้คือ


หลักทรัพย์ ผลต่อแทน % ต่อปี
หุ้นสามัญ 10
หุ้นกู้ 9.5
หุ้นบุริมสิทธิ 8
พันธบัตรรัฐบาล 8.5
ทรัพย์สินถาวร 12

ผู้ลงทุนต้องการผลตอบแทนจากการลงทุสูงสุดโดยกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้ คือ

1. เงินลงทุนในหุ้นสามัญ จะต้องไม่เกินผลรวมของเงินทุนทั้งสิ้นในหุ้นบุริมสิทธิ และพันธบัตรรัฐบาล
2.เงินลงทุนในหุ้นกู้และทรัพย์สินถาวร รวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าเงินลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิ์
3.เงินลงทุนในหุ้นกู้ จะต้องไม่มากกว่าเงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล
4.เงินลงทุนในทรัพย์สินถาวร จะต้องไม่มากกว่าเงินลงทุนในหุ้นกู้

ผู้ลงทุนควรลงทุนอย่างไรจึงจะได้ผลตอบแทนสูงที่สุด

มาลองใช้ Solver หาคำตอบกันครับ

ขั้นที่ 1 : สร้าง File Excel ตามรูป

คลิกเพื่อขยายภาพ


จากโจทย์เราจะได้

ตัวแปร [Variable] ดังนี้
  1. x1 = หุ้นสามัญ 
  2. x2 = หุ้นกู้
  3. x3 = หุ้นบุริมสิทธิ
  4. x4 = พันธบัตรรัฐบาล
  5. x5 = ทรัพย์สินถาวร
ข้อจำกัด [Constraints] ดังนี้
  1. เงินลงทุนในหุ้นสามัญ จะต้องไม่เกินผลรวมของเงินทุนทั้งสิ้นในหุ้นบุริมสิทธิ และพันธบัตรรัฐบาล (x1 <= x3+x4)
  2. เงินลงทุนในหุ้นกู้และทรัพย์สินถาวร รวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าเงินลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิ์ (x2 + x5 >= x3)
  3. เงินลงทุนในหุ้นกู้ จะต้องไม่มากกว่าเงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล (x2 <= x4)
  4. เงินลงทุนในทรัพย์สินถาวร จะต้องไม่มากกว่าเงินลงทุนในหุ้นกู้ (x5 <= x2)
  5. มีเงินลงทุนอยู่ไม่เกิน 500,000 บาท (x1+x2+x3+x4+x5 <= 500,000)
*** แก้สมการโดยการทำข้างขวาให้เป็น 0 แล้วย้ายตัวแปรมาฝั่งซ้ายเป็นค่าติดลบ จึงใส่ -1 ลงไปในตาราง excel ***

วัตถุประสงค์ [Objective] คือ ผลตอบแทนสูงที่สุด คือ จำนวนเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ x ผลตอบแทนต่อปี

ขั้น 2 : เมื่อเรารู้หลักการแล้วจึงนำมาใส่สูตรโดย
  1. cell G3 พิมพ์สูตร ดังนี้ =(B3*$B$2)+(C3*$C$2)+(D3*$D$2)+(E3*$E$2)+(F3*$F$2)
  2. copy สูตรมาวางที่ cell G5:G9
** ถ้าทำถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น 0 **

ขั้นที่ 3 : ให้ Solver คำนวณผลลัพธ์ออกมาให้ ดังนี้
  1. ไปที่เมนู Data > Solver
  2. กำหนด Objective Cell ในที่คือ cell G3
  3. กำหนด Changing Variable Cells ในที่นี้คือ cell B2:F2
  4. คลิกปุ่ม Add เพื่อกำหนดข้อจำกัด [Constraints]
  5. กำหนดข้อจำกัดโดยเลือก Cell Reference , เครื่องหมายเปรียบเทียบ , Cell Constraints ให้่ถูกต้อง ถ้าทำถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ตามรูป
  6. คลิกปุ่ม Solve
  7. เลือกตัวเลือกตามต้องการ

คลิกเพื่อขยายภาพ

*** สามารถดูวิธีการ Add Constraints และรายละเอียดของ Solver Results ได้ที่ บทความตอนที่ 2 นะครับ ***



บทความที่เกี่ยวข้อง 

วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้ Solver ใน Microsoft Excel ตอนที่ 2

หลังจากเรารู้แล้วว่า Solver ใน Microsoft Excel มีไว้ทำอะไร วันนี้เราลองมาดูตัวอย่างการใช้งาน Solver กันสักหน่อยเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นครับ

ตัวอย่างที่ 1

คุณนกจะออกร้านในงานเอื้อฟ้า หลังจากติดต่อกับฝ่ายสถานที่แล้ว คุณนกได้ชั้นวางสินค้า มีความยาวทั้งสิ้น 100 เมตร คุณนกตั้งงบประมาณที่จะใช้ลงทุนในสินค้าทั้งหมดไม่เกิน 24,000 บาท สินค้าที่นำมาวางขายนั้นจะเป็นเครื่องกระป๋อง และเครื่องดื่ม เครื่องกระป๋องต้องลงทุนเมตรละ 200 บาท เครื่องดื่มต้องลงทุนเมตรละ 300 บาท กำไรที่จะได้จากเครื่องกระป๋อง เมตรละ 15 บาท เครื่องดื่ม เมตรละ 20 บาท จงสร้างตัวแบบการโปรแกรมเชิงเส้น เพื่อที่จะหาว่าคุณนกจะจัดสรรเนื้อที่อย่างไร เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด

จากโจทย์เราอยากรู้ว่าคุณนกต้องวางขายเครื่องกระป๋องกี่เมตร เครื่องดื่มกี่เมตร ถึงจะได้กำไรสูงที่สุด ???  มาลองใช้ Solver หาคำตอบกันครับ

ขั้นที่ 1 : สร้างไฟล์ Excel ตามรูป

คลิกเพื่อขยายภาพ


จากโจทย์เราจะได้

ตัวแปร [Variable] ดังนี้
  1. x1 = เครื่องกระป๋อง 
  2. x2 = เครื่องดื่ม
ข้อจำกัด [Constraints] ดังนี้
  1. เนื้อที่ชั้นวางสินค้า = ไม่เกิน 100 เมตร
  2. งบประมาณที่ใช้ลงทุน = ไม่เกิน 24,000 บาท
วัตถุประสงค์ [Objective] คือ กำไรสูงสุด ซึ่งได้มาจาก (x1 * จำนวนเมตร) + (x2 * จำนวนเมตร)

ขั้นที่ 2 : เมื่อเรารู้หลักการแล้วจึงนำมาใส่สูตรโดย
  1. cell D3 พิมพ์สูตรดังนี้ =($B$2*B3)+($C$2*C3)
  2. copy สูตรมาวางที่ cell D7:D8
** ถ้าทำถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น 0 **

ขั้นที่ 3 : ให้ Solver คำนวณผลลัพธ์ออกมาให้ ดังนี้

  1. ไปที่เมนู Data > Solver
  2. กำหนด Objective Cell ในที่คือ cell D3
  3. กำหนด Changing Variable Cells ในที่นี้คือ cell B2:C2
  4. คลิกปุ่ม Add เพื่อกำหนดข้อจำกัด [Constraints]


คลิกที่รูปเพื่อขยายภาพ

ได้หน้าต่างดังรูป กำหนดค่าดังนี้
  1. คลิกช่อง Cell Reference : เลือก cell D7
  2. คลิกเลือกเครื่องหมายเปรียบเทียบให้ถูกต้องตามข้อจำกัด [<= , = , >=]
  3. คลิกช่อง Constraints : เลือก cell F7
  4. คลิกปุ่ม Add
  5. คลิกช่อง Cell Reference : เลือก cell D8
  6. คลิกเลือกเครื่องหมายเปรียบเทียบให้ถูกต้องตามข้อจำกัด [<= , = , >=]
  7. คลิกช่อง Constraints : เลือก cell F8
  8. คลิกปุ่ม OK
คลิกที่รูปเพื่อขยายภาพ


ได้หน้าต่างดังรูป > คลิกปุ่ม Solve

คลิกที่รูปเพื่อขยายภาพ


ได้หน้าต่างดังรูป เราสามารถเลือกแสดงผลลัพธ์แบบต่าง  ๆ ได้ดังนี้

คลิกที่รูปเพื่อขยายภาพ


  • ถ้าเลือกเป็น Keep Solver Solution – Excel จะเปลียนค่าเซลล์ให้เลย
  • ถ้าเลือกเป็น Restore Original Values – Excel จะแสดงค่าเดิมก่อนการคำนวณออกมา
  • ถ้าต้องการให้แสดงรายงาน สามารถคลิกเลือก Reports ต่างๆ ได้ (กดปุ่ม Shift เพื่อคลิกเลือก Report หลายฉบัยพร้อมกัน)
  • ปุ่ม Save Scenario ใช้สำหรับบันทึก Scenario เก็บไว้ เพื่อให้ Scenario Manger สามารถนำค่านี้ไปใช้คำนวณต่อได้



อ่านเนื้อหาตอนแรก ได้ที่ : ตัวอย่างการใช้ Solver ใน Microsoft Excel ตอนที่ 1 Solver คืออะไร ???



อ้างอิง

http://www.cleverdrive.net/275/solver-excel-2003/

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้ Solver ใน Microsoft Excel ตอนที่ 1

สวัสดีครับวันนี้เราจะมาลองใช้งาน Add-Ins ตัวหนึ่งของ Microsoft Excel ที่ชื่อว่า Solver กันครับ

Solver คืออะไร ???

Solver ก็คือเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณประเภท Linear Programming (โปรแกรมเชิงเส้น) โดยจะช่วยในการหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด ดีที่สุด (Optimization) จากข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่มีอยู่

ยกตัวอย่างเช่น 

คุณนกจะออกร้านในงานเอื้อฟ้า หลังจากติดต่อกับฝ่ายสถานที่แล้ว คุณนกได้ชั้นวางสินค้า มีความยาวทั้งสิ้น 100 เมตร คุณนกตั้งงบประมาณที่จะใช้ลงทุนในสินค้าทั้งหมดไม่เกิน 24,000 บาท สินค้าที่นำมาวางขายนั้นจะเป็นเครื่องกระป๋อง และเครื่องดื่ม เครื่องกระป๋องต้องลงทุนเมตรละ 200 บาท เครื่องดื่มต้องลงทุนเมตรละ 300 บาท กำไรที่จะได้จากเครื่องกระป๋อง เมตรละ 15 บาท เครื่องดื่ม เมตรละ 20 บาท จงสร้างตัวแบบการโปรแกรมเชิงเส้น เพื่อที่จะหาว่าคุณนกจะจัดสรรเนื้อที่อย่างไร เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด

จากตัวอย่างข้างต้นเราจะใช้ Solver มาช่วยในการคำนวณหาว่าเราควรวางขายเครื่องกระป๋องกี่เมตร เครื่องดื่มกี่เมตร

Solver แตกต่างจาก Goal Seek อย่างไร ???

  • เครื่องมือทั้งคู่ทำหน้าที่ทดลองค่าแทนลงไปในเซลล์รับตัวแปร (Changing Cells) ซึ่งห้ามเป็นเซลล์สูตร โดย Solver สามารถใช้ตัวแปรได้มากถึง 200 ตัว (หรือมากกว่านั้นหากใช้ Solver แบบพิเศษของ www.Solver.com) ส่วน Goal Seek ใช้ตัวแปรได้เพียงตัวเดียว
  • เซลล์ผลลัพธ์เป้าหมาย (Target Cell) ของ Solver สามารถเลือกให้เป็นค่า Maximize, Minimize, หรือ Optimize ให้ได้ค่าใดค่าหนึ่ง ในขณะที่ Goal Seek หาค่าแบบ Optimize เท่านั้น
  • Solver รับเงื่อนไข (Constraints) ได้โดยตรง เพื่อใช้ควบคุมให้คำตอบที่ได้นั้นต้องบรรลุเงื่อนไขที่กำหนดด้วย ส่วน Goal Seek ใช้ Constraint ของ Calculation Options
  • การสั่ง Solver ต้องเรียกใช้ผ่าน Add-ins ซึ่ง Microsoft จัดเตรียมไว้ให้ใช้โดยไม่ต้องหาซื้อเพิ่มแต่อย่างใด ส่วน Goal Seek เป็นคำสั่งมาตรฐานที่เรียกใช้ได้ทันที

ข้อควรระวังในการใช้ Solver

  • หากต้องการสั่งให้ Solver พิมพ์รายงาน ให้คลิกเลือกชื่อรายงานในช่อง Reports (เป็นช่องด้านขวาของ Solver Results ตามภาพข้างบนนี้) แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่สั่ง Protect Workbook ไว้ก่อน
  • เงื่อนไขในส่วนของ Constraints เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ Solver สามารถหาค่าที่ต้องการ หากกำหนด Constraints ไว้ไม่ครบถ้วนก็จะส่งผลให้ไม่สามารถหาคำตอบที่ต้องการหรืออาจเกิดคำตอบที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เช่น ในปัญหาการผลิตถ้าลืมกำหนด Constraints ให้เป็นจำนวนเต็ม ก็จะได้คำตอบจำนวนผลิตที่มีเศษทศนิยม หรือถ้าไม่ได้กำหนดให้เป็นค่าที่มากกว่าหรือเท่ากับ 0 ก็จะได้คำตอบที่เป็นเลขติดลบ

การเรียกใช้งาน Solver

เนื่องจาก Solver เป็น Add-Ins ตัวหนึ่งที่อยู่ใน Microsoft Excel ดังนั้นเราจึงต้องสั่งการให้เรียกเครื่องมือ Solver ขึ้นมา โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เปิดโปรแกรม Microsoft Excel > คลิกเมนู File > Option > ได้หน้าต่าง Excel Option  > เลือก Add-Ins > คลิกปุ่ม Go... 



2. คลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้า Solver Add-in > คลิก OK



3. ที่เมนู Data ของ Microsoft Excel จะมีเครื่องมือ Solver ปรากฎขึ้นมาตามรูป

คลิกที่รูปเพื่อขยายภาพ


สำหรับตอนนี้ขอพักไว้แค่นี้ก่อนครับ ตอนหน้าเราจะมาลองทำแบบฝึกหัดใช้งาน Solver กันครับ

อ่านตอนที่ 2 ได้ที่ : ตัวอย่างการใช้ Solver ใน Microsoft Excel ตอนที่ 2



อ้างอิง