วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2568

รวมคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ Risk Management

สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับคำศัพท์เฉพาะ (Technical Term) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Risk Management กันดีกว่า เนื่องจากมันมีคำศัพท์เฉพาะเยอะ เวลาอ่านพวกเอกสารแต่ละทีก็งงที ขอรวม ๆ ไว้ใน บทความนี้ล่ะกันครับ เผื่อมีประโยชน์กับท่านอื่นด้วย 

  • Risk Identification คือ การระบุความเสี่ยง ต้องระบุให้ได้ว่าองค์กรมีความเสี่ยงอะไรบ้าง 
  • Risk Universe คือ  การระบุความเสี่ยงที่เป็นไปได้ทั้งหมด
  • Risk Scenario คือ เหตุการณ์ความเสี่ยง
  • Risk Factors คือ ปัจจัยหรือสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
  • Risk Type คือ ลักษณะที่มาของความเสี่ยงหรือภัยคุกคาม มาจากปัจจัยภายใน (Internal) หรือปัจจัยภายนอก (External)
  • Risk Appetite คือ ความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้
  • Risk Assessment คือ การประเมินความเสี่ยง
  • Risk Map คือ แผนภาพความเสี่ยง
  • Risk Scale คือ ระดับของโอกาสเกิดความเสี่ยงนั้นและผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยงนั้น
  • Risk Register คือ ทะเบียนความเสี่ยง บรรยายข้อมูลรายละเอียดของความเสี่ยงที่ระบุไว้
  • Risk Profile คือ โครงร่างความเสี่ยง รวบรวมความเสี่ยงทั้งหมดที่องค์กรมี
  • Risk Response คือ การตอบสนองความเสี่ยงมี 4 วิธี
    • Risk Avoidance คือ การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เช่น ยกเลิกกิจกรรมนั้นไปเลย
    • Risk Acceptance คือ การยอมรับความเสี่ยงนั้น ซึ่งต้องมีหลักฐานให้ชัดเจน
    • Risk Transfer คือ การโอนความเสี่ยงให้บุคคลอื่น เช่น การทำประกัน หรือ Outsource
    • Risk Mitigation คือ การลดความเสี่ยง จะหลีก จะยอมรับ จะโอน ทำไม่ได้และกิจกรรมนั้นก็ต้องดำเนินการต่อไป จึงต้องหามาตรการมาลดความเสี่ยง เช่น เพิ่มการควบคุม (Control) ให้ดีขึ้น
  • Inherent Risk คือ ความเสี่ยงที่เกิดโดยธรรมชาติของกิจกรรมนั้น ซึ่งยังไ่ม่มีอะไรมาควบคุม (Control) เช่น เมื่อเริ่มทำธุรกิจก็มีความเสี่ยงที่จะเจ๊งทันที เพราะเป็นธรรมชาติของธุรกิจ
  • Residual Risk คือ ความเสี่ยงที่เหลืออยู่หลังจากมีการควบคุม
  • Risk Awareness คือ การสร้างความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงขององค์กร มักใช้กับผู้บริหาร
  • Likelihood คือ ความน่าจะเป็นในการเกิดความเสี่ยงนั้น ๆ
  • Impact คือ ผลกระทบกับองค์กรเมื่อเกิดความเสี่ยงนั้น ๆ
  • Severity คือ ระดับความรุนแรง
ก็ประมาณนี้ครับสำหรับคำศัพท์ที่เราเจอบ่อย ๆ เวลาอ่านพวก Risk Management 

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2568

Microsoft Copilot มีกี่ Plan แล้วฉันต้องซื้อ Plan ไหน

สวัสดีครับ ช่วงนี้ไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึง AI และใช้ AI มาช่วยในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเจ้า AI นี่ก็ขยันออกยี่ห้อใหม่ ๆ มาอยู่เรื่อยทำให้ผู้ใช้อย่างเรามึนไปหมดไม่รู้จะเลือกใช้ตัวไหนดี เอาเป็นว่าท่านถนัดค่ายไหน ยี่ห้อไหนก็เลือกใช้ตามที่ท่านถนัดนะครับ 

สำหรับบทความนี้เราจะโฟกัสเฉพาะ Microsoft Copilot ว่ามันมีกี่แบบ พร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลย 

1. Bing Copilot หรือชื่อเดิมคือ Bing Chat นั่นเอง ตัวนี้มาพร้อมกับเบราวเซอร์ Microsoft Edge ไม่ต้อง login ก็สามารถใช้งานได้เลย ไม่เกี่ยวกับ Plan ไหนใด ๆ ทั้งสิ้น หรือคุณสามารถเข้าไปใช้งานผ่าน URL: https://copilot.microsoft.com/ ได้โดยตรง

กรณีที่ใช้ Microsoft account (@outlook.com, @hotmail.com, @live.com or @msn.com) ในการ login ก็จะเก็บประวัติการใช้งานว่าเคยถามอะไร เคยคุยอะไรกันไปบ้าง (เหมือนใช้ ChatGPT นั่นแหละ) โดยส่วนตัวเห็นว่าความฉลาดก็จะไม่เท่ากับ ChatGPT 


2. Microsoft Copilot Pro คือ Copilot ที่จะไปอยู่ในโปรแกรม Microsoft Office ไม่ว่าจะเป็น Word Excel PowerPoint และ Outlook ถ้าให้เปรียบเทียบก็เหมือน ChatGPT แบบเสียเงินอ่ะ สามารถทดลองใช้ฟรีได้ 30 วัน ถ้าชอบก็สั่งซื้อราคาประมาณ $20.00 ต่อ user ต่อเดือน (ประมาณ 700 กว่าบาทต่อเดือน)

ซึ่งเวอร์ชันนี้เค้าทำมาสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ไม่ได้มีไว้ใช้สำหรับลูกค้าองค์กรนะครับ ดังนั้นคุณจะต้องมี Microsoft 365 Personal หรือ Family ซะก่อนถึงจะซื่้อ Copilot Pro มาใช้งานได้ซึ่งก็จะผูกกับ Microsoft account (@outlook.com, @hotmail.com, @live.com or @msn.com) นั่นเอง

ดูเปรียบเทียบฟีเจอร์ระหว่าง Copilot Pro กับ Free version ได้ที่ link นี้ https://www.microsoft.com/en-us/store/b/copilotpro

ดูรายละเอียด Microsoft 365 Personal ได้ที่ link นี้

ดูรายละเอียด Microsoft 365 Family ได้ที่ link นี้

พออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อาจเกิดคำถามว่า ถ้าเราทำงานให้บริษัทฯ แล้วเราต้องการฟีเจอร์เลิศ ๆ เดิ้ล ๆ ของ Copilot ที่มันโฆษณาว่าใช้คู่กับ Microsoft Teams แล้วสรุปบันทึกประชุมให้เราได้เลย หรือใช้คู่กับ  Microsoft Outlook ให้มันช่วยตอบอีเมลแทนเราได้ ฯลฯ ต้องซื้อ Copilot แบบไหน ??? คำตอบก็คือ

3. Microsoft 365 Copilot ซึ่งในบทความนี้คงไม่มาสาธยายถึงฟีเจอร์ของมันนะครับว่ามันทำอะไรได้บ้าง แต่จุดเด่นของ Microsoft 365 Copilot สำหรับผมมันคือเรื่อง Security ที่เราสามารถควบคุมข้อมูล (Data) หรือความเป็นส่วนตัว (Privacy) ขององค์กรได้ สำหรับเวอร์ชันนี้ไม่มีฟรีให้ได้ลองใช้นะครับ อยากได้ต้องซื้อ (ใช้เงินแก้ปัญหาเอานะ) ราคาประมาณ $30.00 ต่อ user ต่อเดือน (ประมาณ 1,100 กว่าบาทต่อเดือน)

ซึ่งเวอร์ชันนี้เค้าทำมาสำหรับผู้ใช้งานในองค์กร ไม่ได้มีไว้ใช้สำหรับลูกค้าตามบ้านนะครับ ดังนั้นคุณจะต้องมี License อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ก่อน 

  • Microsoft 365 Apps for enterprise or Microsoft 365 Apps for business
  • Microsoft 365 Business Basic, Business Standard, or Business Premium
  • Microsoft 365 E3, E5, F1, F3, G3, G5, A1, A3, or A5 for faculty 
  • Office 365 E1, E3, E5, F3, G1, G3, G5, A1, A3, or A5 for faculty 
  • Teams Essentials or Teams Enterprise

ถึงจะซื้อ Microsoft 365 Copilot มาใช้งานได้ และก็ต้องผูกอยู่กับ Work/School Account ดังนั้นพวก @outlook.com, @hotmail.com, @live.com or @msn.com หมดสิทธิใช้

ดูรายละเอียด Microsoft 365 Copilot ได้ที่ link นี้
https://www.microsoft.com/en-us/microsoft-365/copilot

ก็ขอจบบทความนี้ดื้อ ๆ แบบนี้เลยนะครับหวังว่าจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจความแตกต่างของเจ้า Microsoft Copilot มากขึ้นและเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องครับ

แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Microsoft Copilot 

นำ Microsoft Copilot ไปใช้งานยังไงในองค์กร ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน เริ่มที่ link นี้
https://adoption.microsoft.com/copilot/

Microsoft Copilot Academy
https://learn.microsoft.com/en-us/viva/learning/academy-copilot

Copilot for Microsoft 365 Training จาก Microsoft Learn เป็น Course ที่สอนการใช้งาน Microsoft Copilot ทั้งในมุมของ Business และ IT Admin
https://learn.microsoft.com/en-us/collections/d2x5sm2n0p5w38?sharingId=8BF9C1649238B5B2

ชุดแนะนำการนำ Microsoft Copilot ไปใช้งานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
https://adoption.microsoft.com/copilot/success-kit/

Microsoft 365 Copilot documentation รวมทุกอย่างเกี่ยวกับ Microsoft 365 Copilot
https://learn.microsoft.com/en-us/copilot/microsoft-365/

หมายเหตุ

Microsoft Copilot คือ Generative AI (GEN AI) ที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งภายในก็คือ OpenAI นั่นเอง เรียกได้ว่า แทบจะเหมือน ChatGPT เกือบทุกประการ

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2567

ปิดช่องโหว่ CVE-2024-43425 สำหรับคนที่ใช้ Moodle แล้วยังไม่อยากอัปเกรดเวอร์ชัน

สวัสดีครับ

พอดีได้ข้อมูลช่องโหว่ (Vulnerability) ของระบบ Moodle มาจากเพจ ExploitWareLab ซึ่ง Ref มาจากต้นทางคือ 

https://securityonline.info/cve-2024-43425-moodle-remote-code-execution-vulnerability-poc-published/

ซึ่งถือว่าเป็นช่องโหว่ที่ร้ายแรงที่ Hacker สามารถรีโมทเข้ามาคุม Server เราได้เลย ทางแก้ไขก็คืออัปเดต/อัปเกรด เวอร์ชันของ Moodle ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด แต่ชีวิตมันไม่ง่ายขนาดนั้นอ่ะซิครับ บางทีเราไม่อยากอัปเดต/อัปเกรด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็แล้วแต่ เช่น Hosting ที่เราเช่าอยู่มันไม่รองรับกับ PHP / Database เวอร์ชันใหม่ ดังนั้น เอาทางแก้ชั่วคราวไปใช้ก่อน ซึ่งก็คือ 

ปิดการใช้งานคำถามประเภท calculated นั่นเองงงงง ทำยังไงไปดูกัน

1. Login เข้า Admin Moodle

2. Site administration > Plugins > Question types > Manage question types


3. ที่คำถามประเภท CalculatedCalculated multichoiceCalculated simple
4. คลิกไอคอนรูป "ตา" เพื่อ ปิด (Disable) 



หมายเหตุ: ตอนที่เขียนบทความนี้ช่องโหว่นี่ยังไม่ประกาศเป็น Official ที่ CVE.ORG นะครับ