วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

กระบวนการเขียนโปรแกรม Programming Process

กระบวนการเขียนโปรแกรม (Programming  Process) จะเป็นลำดับขั้นตอนในการสร้างโปรแกรมซึ่งจะประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ

1.ขั้นตอนการกำหนดปัญหา

เป็นขั้นตอนแรกก่อนที่จะเขียนโปรแกรมจะต้องรู้ปัญหาก่อนว่าปัญหานั้นคืออะไรซึ่งปัญหาต่าง ๆ นี้ให้พิจารณาจากโปรแกรมต้องทำอะไร, ข้อมูลนำเข้าที่ป้อนให้กับโปรแกรมคืออะไรและผลลัพท์ที่ได้คืออะไร

2.การออกแบบโปรแกรม

ในการออกแบบโปรแกรมนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของอัลกอริทึมซึ่งจะต้องให้โปรแกรมนั้นสามารถทำงานเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการและมีประสิทธิภาพได้ในการออกแบบโปรแกรมจะต้องพิจารณาถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

  • ต้องออกแบบให้มีประสิทธิภาพยืดหยุ่น
  • ต้องออกแบบให้ง่ายต่อการแก้ไขและง่ายต่อการพัฒนา
  • ต้องออกแบบให้ถูกต้องไม่ทำให้โปรแกรมผิดเพี้ยน
  • ต้องออกแบบให้ง่ายต่อการเข้าใจโดยสามารถทำให้โปรแกรมเมอร์คนอื่น ๆ เข้าใจในสิ่งที่เราออกแบบได้ได้วย

3.การเขียนชุดคำสั่ง

ขั้นตอนนี้จะเรียกว่าการ Coding เป็นการเขียนคำสั่งต่าง ๆ ตามโปรแกรมที่ได้ออกแบบไว้ซึ่งถ้าเราออกแบบไว้ดีผลลัพธ์ที่ได้ก็จะได้โปรแกรมที่มีการทำงานถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

4.การทดสอบโปรแกรมและดีบักโปรแกรม

เป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในขั้นตอนนี้ก็สามารถแก้ไขโปรแกรมใหม่ได้ ถ้าไม่มีขั้นตอนนี้หากเขียนเสร็จแล้วสั่งให้ผู้ใช้งานใช้โปรแกรมถ้าเกิดปัญหาขึ้นระหว่างการใช้งานก็อาจทำให้ผู้ใช้งานไม่พอใจได้  ต้องส่งกลับมาแก้อีกทีทำให้เสียเวลา  ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ลืมไม่ได้เลย ซึ่งการทดสอบหรือ Testing จะหมายถึง การทดสอบว่าโปรแกรมนั้นให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามกำหนดไว้หรือไม่ซึ่งผู้ทีทำการทดสอบโปรแกรมจะมีการใส่ข้อมูลที่จะทดสอบลงไปในโปรแกรมดูถ้าผลลัพธ์ถูกต้องก็แสดงว่าโปรแกรมนี้ใช้งานได้แต่ถ้าผลลัพธ์ไม่ถูกต้องก็ต้องนำกลับไปแก้ใหม่  ส่วนการดีบัก (Debugging) จะเป็นการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโปรแกรม

ข้อแตกต่างระหว่างการทดสอบ (Testing) และการดีบัก (Debugging)


  • การทดสอบโปรแกรมจะเริ่มทดสอบด้วยการรู้เงื่อนไข, รู้ข้อมูลที่จะทดสอบและรู้ผลลัพธ์หลังจากที่ใส่ข้อมูลทดสอบลงไปในโปรแกรมแล้วส่วนการดีบักเริ่มต้นการตรวจสอบที่ยังไม่รู้เงื่อนไขต่าง ๆ และไม่รู้ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
  • การทดสอบสามารถให้ผู้ทำหน้าที่ทดสอบ (Software Tester) หรือบุคคลอื่น ๆ ทดสอบได้ แต่การดีบักจะต้องให้ผู้เขียนโปรแกรมเท่านั้นเป็นคนตรวจสอบ
  • การทดสอบเป็นการตรวจสอบหรือทดลองความผิดพลาดของโปรแกรมเมอร์ว่าโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมผิดพลาดทำให้ได้ผลลัพธ์ไม่ตรงกับที่ต้องการหรือไม่  ส่วนการดีบักเป็นการแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก่อนที่จะส่งโปรแกรมไปทดสอบ


ขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือ หนทางสู่อาชีพโปรแกรมเมอร์ สั่งซื้อได้ที่ NetDesign
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฏีการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ได้ที่ : http://sdlcth.blogspot.com

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Water Fall Model

Water Fall Model เป็นกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบลำดับขั้นตอนจากบนลงล่าง (เหมือนน้ำตกโดยกระแสน้ำจะไหลจากข้างบนลงสู่ข้างล่างเสมอ) โดยจะมีการแบ่งขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

  1. Requirement เป็นขั้นตอนในการกำหนดปัญหารวมถึงกำหนดเป้าหมายและกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบ
  2. Analysis เป็นขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัญหาและการทำงานต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์
  3. Design  เป็นการออกแบบโปรแกรมเพื่อที่จะให้โปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  4. Coding  เป็นขั้นตอนในการเขียนโปรแกรมตามที่ได้ออกแบบไ้ว้ในขึ้นตอนที่ 3
  5. Testing เป็นขั้นตอนในการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรม  ซึ่งรวมไปถึงการทดสอบในเรื่องของความปลอดภัยของโปรแกรมด้วย
  6. Maintenance เป็นขั้นตอนในการบำรุงรักษาและการพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบลำดับขั้นตอนจากบนลงล่าง Water Fall Model
Water Fall Model



ขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือ หนทางสู่อาชีพโปรแกรมเมอร์ สั่งซื้อได้ที่ NetDesign
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://sdlcth.blogspot.com/2012/11/waterfall-model.html

วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

การจำลองเครื่องเป็น Web Server ด้วยโปรแกรม XAMPP

การเขียน Website ที่มีการใช้ระบบฐานข้อมูล (Database) หรือการเขียน Web Application นั้น ถ้าเราต้องการดูผลลัพธ์ที่ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก่อนที่จะทำการ Upload เว็บขึ้นไปบน Hosting  เราจำเป็นที่จะต้องจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้ทำงานเป็น Web Server เสียก่อน

โปรแกรมที่ใช้จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น Web Server เพื่อทดสอบการเขียนเว็บนั้นมีหลายยี่ห้อ เช่น Appserv, XAMPP, WAMP เป็นต้น ในบทความนี้จะสาธิตการจำลองเครื่องเป็น Web Server ด้วยโปรแกรม XAMPP นะครับ  พร้อมแล้วเราไปดูขั้นตอนการจำลองเครื่องให้เป็น Web Server ด้วยโปรแกรม XAMPP กันเลยครับ

ขั้นตอนการติดตั้ง 

ขั้นตอนที่ 1 : ก่อนอื่นเราต้อง Download โปรแกรม XAMPP กันก่อน สามารถ Download โปรแกรมได้ที่ http://goo.gl/DHZohx  เวอร์ชั่นที่ให้ Download เป็นเวอร์ชั่น 1.8.1  สำหรับท่านที่ต้องการเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดสามารถ Download ได้ที่เว็บของ XAMPP โดยตรงรับ

ขั้นตอนที่ 2 : เราจะได้ไฟล์ xampp-win32-1.8.1-VC9.7z  (ต้องใช้ Winrar หรือ 7Zip ในการแตกไฟล์นะครับ)  ให้เราคลิกขวาที่ไฟล์ดังกล่าวเลือก Extract File... จะได้หน้าต่างตามรูป > คลิกเลือก Drive C: > คลิกปุ่ม OK



ขั้นตอนที่ 3 : ที่ Drive C: เราจะได้โฟลเดอร์ xampp เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้งครับ

ขั้นตอนสั่งให้ XAMPP ทำงานครับ

ขั้นตอนที่ 1 : ดับเบิลคลิกเข้าไปในโฟลเดอร์ xampp
ขั้นตอนที่ 2 : ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ xampp-control.exe



ขั้นตอนที่ 3 : ถ้าเครื่องไม่เคยติดตั้ง XAMPP มาก่อนจะมีหน้าต่างมาให้เลือกภาษามี 2 ภาษา เราก็เลือกภาษาอังกฤษนะครับ (ธงชาติสหรัฐ)

ขั้นตอนที่ 4 : ได้หน้าต่างดังรูป ให้เราคลิกปุ่ม Start สองปุ่มในส่วนของ Apache กับ MySQL



ขั้นตอนที่ 5 : จะได้หน้าต่างเกี่ยวกับ Windows Firewall ขึ้นมาตามรูป ให้เราเลือก Allow access



ขั้นตอนที่ 6 : Service ในส่วนของ Apache กับ MySQL จะมีแถบสีเขียวขึ้นมาตามรูป



ขั้นตอนที่ 7 : เปิด Browser ขึ้นมาแล้วพิมพ์ "http://localhost"  กด enter  > จากนั้นคลิกเลือกภาษาอังกฤษ



ขั้นตอนที่ 8 : ได้ผลลัพธ์ตามรูปเป็นอันเสร็จพิธีครับ



วิธีการทดสอบ Website ก่อนจะทำการ Upload เว็บขึ้นไปไว้บน Hosting 

สำหรับคนที่เคยใช้ Appserv มาก่อนคงทราบว่าเวลาจะเก็บไฟล์เราต้องเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ www สำหรับโปรแกรม XAMPP เราจะเก็บไฟล์ไว้ที่โฟลเดอร์ htdocs นะครับ

ส่วนคนที่ไม่เคยใช้โปรแกรมมาก่อนเลยก็ขอให้เอาไฟล์เว็บที่เราทำไปเก็บไว้ที่ htdocs ตามรูป





ปล. XAMPP นั้นมีหลายเวอร์ชั่นให้เราเลือกใช้งานนะครับ อธิบายคร่าวประมาณนี้นะครับ

  • XAMPP install version : เวอร์ชั่นนี้มีเครื่องมือให้ครบทุกอย่างครับ ดับเบิลคลิก next next เป็นอันเสร็จ
  • XAMPP Portable version : เวอร์ชั่นนี้เป็นแบบ portatble แตกไฟล์ปุ๊ปใช้งานได้ทันที
  • XAMPP Portable Lite version : เวอร์ชั่นนี้เป็นแบบ portable  แต่มี service ให้ใช้งานแค่ Apache กับ MySQL เท่านั้นไม่มี FileZilla, TomCat, Mecury 
  • XAMPP 7z or Zip version : เวอร์ชั่นนี้เป็นแบบบีบอัดไฟล์มาเวลาใช้งานแตกไฟล์ แล้วดับเบิลคลิกใช้งานได้เลยเช่นเดียวกันครับ

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประชาชาติยุคดิจิตอล Digital Nation ตอนที่ 2

บทที่ 6 : ความเสมอภาคของสภาพแวดล้อมทางการศึกษา


การยัดเยียดเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้กับสถานศึกษาในทันทีโดยไม่คำนึงถึงความพร้อมของสถานศึกษา บุคลากร และโครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม การสร้างวัฒนธรรมทางการศึกษาแบบใหม่นี้จำเป็นต้องอาศัยเวลาเพื่อให้ทั้งสถานศึกษาบุคลากร และนักเรียนได้มีโอกาสปรับตัวอย่างช้า ๆ ซึ่งผู้วางนโยบายของรัฐจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้

การจัดโครงการการศึกษานอกเวลาสำหรับเยาวชนและบุคคลทั่วไป ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยดึงดูดให้เยาวชนทีเ่กิดความเบื่อหน่ายได้เข้ามามีส่วนรวม และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้

รัฐบาลฟินแลนด์ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการฝึกอบรมครูซึ่งมีงบประมาณรวม 2.5 ล้านยูโรต่อปี  เพื่อฝึกอบรมครูทั่วประเทศนอกเหนือจากการอบรมที่แต่ละสถานศึกษาได้จัดให้มีขึ้นอยู่แล้ว

ควรปลูกฝังค่านิยมที่ว่า "คนทุกชนชั้นล้วนมีศักยภาพในการเรียนรู้และมีเกียรติศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน"

ความเสมอภาคทางการศึกษามีการโต้เถียงกันอยู่ใน 2 ประเด็นหลักได้แก่

  1. ประเด็นของ "ความเสมอภาคของทรัพยากร" ซึ่งเกี่ยวกับการสรรหาวิธีที่เหมาะสมในการจัดสรรเงินภาษีเพื่อใช้สนับสนุนการศึกษาในแต่ละส่วนของประเทศอย่างเหมาะสม
  2. ประเด็นของ "ความพอเพียงของการศึกษา" ซึ่งเกี่ยวกับการพิจารณาความสมดุล ระหว่างวัตถุดิบทางการศึกษา (เช่น ครูอาจารย์, อุปกรณ์, หลักสูตร ฯลฯ) กับผลผลิตทางการศึกษา (เช่น ผลการเรียนของนักเรียน) ซึ่งผลการพิจารณานี้จะถูกนำไปใช้ประกอบการพิจารณาคดีความที่มีการฟ้องร้องภาครัฐเกี่ยวกับความไม่เพียงพอของระบบการศึกษาในปัจจุบัน

การตัดสินใจขยายเวลาทำการของโรงเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนและบุคคลภายนอกสามารถเข้ามาใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในสถานศึกษาได้ ซึ่งจะช่วยให้ระบบการศึกษาในโรงเรียนและนอกโรงเรียนมีความเกี่ยวเนื่องกันมากยิ่งขึ้น

ปัจจัยความไม่แน่นอนหลายประการ อาทิ การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ความไม่แน่นอนด้านงบประมาณ และการให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษา การเปลี่ยนแปลงโครงการ และนโยบายทางการศึกษาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้การพัฒนาที่ได้ดำเนินการมายังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร

กรณีศึกษาประเทศเยอรมนี


กรณีของประเทศเยอรมนีซึ่งมีอัตราการว่างงานที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม OECD คือ การที่รัฐวางนโยบายให้เยาวชนได้เริ่มทำงานตั้งแต่อยู่ในวัยเรียน และส่งเสริมให้พวกเขาได้รับการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง

ปรัชญาการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของเยอรมัน ซึ่งตั้งอยู่บนหลัก 3 ประการ คือ โครงข่ายพื้นฐาน ความสามารถของบุคลากร และเนื้อหา

กรณีประเทศฟินแลนด์  


  • ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยสร้างความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ผ่านสถานศึกษาหลากหลายรูปแบบ อาทิ โรงเรียน ห้องสมุด บ้าน ที่ทำงาน เป็นต้น
  • ส่งเสริมให้เกิดการจัดเตรียมสถานศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตอีกด้วย โดยลบล้างค่านิยมเก่า ๆ ที่การศึกษาจะสามารถได้รับจากการเรียนในสถานศึกษาตามหลักสูตรมาตรฐานเท่านั้น
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการเรียนของเยาวชนก็ถือเป็นกลไกสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้
  • ขยายโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยี และการฝึกอบรมทักษะผ่านโครงการการศึกษานอกโรงเรียน
  • ส่งเสริมการฝึกงานของเยาวชนในวัยเรียนก็ถือว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกัน

นโยบายการพัฒนาที่จำเป็น


  1. ความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างภาครัฐและเอกชนถือเป็นสิ่งที่มีคามสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้การพัฒนาสามารถเกิดขึ้นได้ในวงกว้าง
  2. การจัดให้มีแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม ถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถละเลยได้
  3. เงินทุนสนับสนุนที่เพียงพอและต่อเนื่องในระดับประเทศเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การพัฒนาสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
  4. ทักษะและความชำนาญของบุคลากรที่เกี่ยวข้องถือเป็นแรงผลักดันสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทที่ 7 : หนุ่มสาวยุคไร้สาย ความกระปรี้กระเปร่าของโลกอินเตอร์เน็ต


่ความรู้ทางดิจิตอลนั้นควรได้รับการยอมรับว่า เป็นความรู้พื้นฐานอีกอย่างหนึ่งเทียบเท่ากับความรู้ในด้านการใช้ภาษาและคณิตศาสตร์  นอกจากนี้สังคมยังควรตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีดังกล่าวที่จะช่วยสนับสนุนค่านิยมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและประชาธิปไตย

การปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตนี้จะประสบผลสำเร็จได้ ยังมีสิ่งที่ต้องพิจารณาอีกหลายประการด้วยกันคือ

  1. การให้ความสำคัญต่อการให้ข้อมูลและการรับข้อมูล ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่ในระบบออนไลน์มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องต่าง ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเมือง แต่มักไม่ยอมเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างออกไป  ในขณะที่การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตนถือเป็นส่ิงสำคัญ เยาวชนก็จำเป็นต้องรับฟังความเห็นของผู้อื่นและร่วมมือซึ่งกันและกันเพื่อแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่อย่างเหมาะสม
  2. การที่ปัจจุบันมีเว็บไซต์เชิงพาณิชย์จำนวนมากที่จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นหรือดำเนินการเลือกตั้งแบบจำลองขึ้่น เพื่อก่อให้เกิดการรวมตัวกันของผู้ที่มีความคิดเห็นร่วมกันไว้เป็นกลุ่ม แทนที่จะส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ที่มีความเห็นแตกต่างกัน เราควรหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มทางความคิดที่จะทำให้เกิดการต่อต้านฝ่ายตรงข้าม แต่ควรจุดประกายความคิดให้กับคนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิผล
  3. ในเว็บไซต์ประเภทชุมชนออนไลน์มักมีการจัดแบ่งกลุ่มสนทนาออกตามประเภทความสนใจ ทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักเข้าร่วมเฉพาะในกลุ่มสนทนาที่มีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกับตนเท่านั้นซึ่งสิ่งนี้ทำให้ชุมชนออนไลน์ีลักษณะที่ไม่แตกต่างจากชุมชนที่เป็นอยู่จริงในชีวิตประจำวัน  อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเช่นนี้ย่อมบดบังศักยภาพของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในการเปิดโอกาสให้คนจากทั่วทุกมุมโลกติดต่อสื่อสารกันอย่างอิสระ และสร้างความเป็นไปได้ในการปรับความเข้าใจระหว่างกลุ่มคนที่มีความเห็นแตกต่างกันให้หมดไป  ผู้ดูแลเว็บไซต์ประเภทดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นผู้มีส่วนประกอบสำคัญในการควบคุมบทสนทนาที่ดำเนินไปในระบบออนไลน์ให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ  ยิ่งไปกว่านี้ซอฟแวร์ใหม่ ๆ ที่กำลังถูกพัฒนาขึ้นสำหรับระบบลักษณะนี้ก็ควรได้รับการทบทวนและทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าบทสนทนาออนไลน์ที่จะเกิดขึ้นบนระบบดังกล่าวต้องเกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ


บทที่ 8 : บทสรุป


จอห์น สจวต มิลล์  "ความเสมอภาคจะเกิดในสังคมได้ก็ต่อเมื่อมีการนำเสนอความคิดหลากหลายในสังคมเท่านั้น"

สังคมดิจิตอล หมายถึง  สังคมที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาประยุกต์ใช้ภายใต้หลักการของประชาธิปไตย  เพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพและการสร้างอิสรภาพในการดำรงชีวิตของคนในสังคม



ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ ประชาชาติยุคดิจิตอล Digital Nation สั่งซื้อได้ที่ SE-ED





วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประชาชาติยุคดิจิตอล Digital Nation ตอนที่ 1

สวัสดีครับไปเดินเล่นในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมาก็พบหนังสือเล่มนี้ชื่อน่าสนใจดีครับเลยยืมมาอ่านฝรั่งเขียนแล้วคนไทยเอามาแปล ถือว่าเปิดหูเปิดตาและได้แนวคิดโดยเฉพาะเรื่องการศึกษา ควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาได้อ่านเป็นอย่างยิ่ง ^_^"

นี่คือเนื้อหาบางส่วนจากในหนังสือที่ผมเห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาเผยแพร่ให้ได้อ่านและนำไปคิดกันครับ เราคงหนีไม่พ้น Digital Nation

บทที่ 1 : สังคมดิจิตอล ณ ทางแยก

ผู้นำประเทศถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างกระแสความตระหนักของสังคมต่อปัญหาด้านการศึกษาและความเสมอภาคทางเทคโนโลยี และส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนในสังคมได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาเหลานี้  นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการกระตุ้นให้มีการขานรับที่เหมาะสมจากภาครัฐและเอกชน โดยส่งเสริมให้มีการขยายการลงทุนอย่างเพียงพอ เพื่อการพัฒนาประเทศให้ก้าวเข้าสู่ยุคของเทคโนโลยีที่มีความเสมอภาคสำหรับทุกคนในสังคมต่อไป

บทที่ 2 : ทุกคนควรมีความรู้พื้นฐานอย่างเช่นการใช้คอมพิวเตอร์

การสื่อสารถือเป็นส่ิงจำเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์และสังคม การมีอิสระในการค้นหา ได้รับ และใช้ประโยชน์ ข้อมูลถือเป็นสิทธิมนุษยชนที่มีความสำคัญ และเป็นความจำเป็นขั้นต้นที่จะนำมาซึ่งสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ

นายโคฟี อันนัน (Kofi Annan) อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ได้เปรียบเทียบระบบโทรคมนาคมว่ามีความสำคัญเทียบเท่ากับการมีน้ำดื่มและยารักษาโรค เขาได้แสดงถึงนัยทางการเมืองที่สำคัญ 2 ประการด้วยกัน ได้แก่

  1. มนุษย์ควรมีเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด
  2. มนุษย์ควรได้รับโอกาสในการสื่อสารความคิดของตนแก่สังคม ซึ่งรัฐบาลของแต่ละประเทศมีหน้าที่ในการสนับสนุนให้เกิดโอกาสดังกล่าว โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงแม้ในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล
นายเนลสัน แมนดาลา อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ "ความสามารถในการสื่อสารจะกลายเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 21"

บทที่ 3 : แลกเปลี่ยนวิญญาณเพื่อยุคดิจิตอล


เราควรสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสใช้ชีวิตออนไลน์หรือไม่

การเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเอื้อประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ และเพ่ิมประสิทธิภาพในการให้บริการนั้นอาจนำมาซึ่งผลเสียอย่างรุนแรง หากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความสนใจในด้านความเสมอภาคในสังคมอย่างเพียงพอ ตัวอย่างเช่น การกุมอำนาจของสื่อโดยคนบางกลุ่ม

มุมมอง 2 แบบใหญ่ ๆ คือ มุมมองของการถือประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ และมุมมองของสิทธิมนุษยชน  นายโทมัส โอนีล (Thomas O'Neill) กล่าวว่า "เราจะโต้เถียงปัญหากันในแง่ศีลธรรมเพื่ออะไร ในเมื่อเราสามารถมองปัญหาในเชิงเศรษฐกิจได้"

แนวคิดในเรื่องของ "ทุนมนุษย์ (human capital)" เป็นแนวคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของสังคมดิจิตอล .... แนวคิดนี้มีรากฐานมาจากความเชื่อที่ว่า สถาบันการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบเป็นกุญแจสำคัญสู่การได้มาซึ่งอิสระในการดำรงชีวิต  ทั้งนี้ในการดำรงชีวิตอย่างราบรื่นและการมีอนาคตที่มั่นคงของมนุษย์และสังคม เราจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานและทักษะในการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณอย่างถูกต้อง ....การศึกษาเป็นกลจักรสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

บทที่ 4 : พรมแดนใหม่ของสิทธิมนุษยชน


วิธีการสร้างความมั่นคงของประเทศที่ดีที่สุดคือการสนับสนุนให้ประชาชนได้มีโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน

แถลงการณ์สากลเรื่องสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า "การมีอิสระในการค้นหา ได้รับ และใช้ประโยชน์ข้อมูลผ่านสื่อทุกชนิดโดยไม่จำกัดพรมแดนทางการเมือง ถือเป็นสิทธิมนุษยชนที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง"

ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษานั้น สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดย่อมมิใช่การจัดหาอุปกรณ์ แต่เป็นการพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้อย่างคล่องแคล่ว

บทที่ 5 : สังคมดิจิตอล สีดำและสีขาว


ระบบสื่อสารมวลชนที่เสมอภาคและเปิดโอกาสให้กับความคิดเห็นที่แตกต่าง ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสังคมดิจิตอล นโยบายรัฐอีกหลายอย่างที่ขัดต่อการพัฒนาข้างต้น เช่น การกำหนดให้มีการควบคุมสัมปทานของช่องทางสื่อสารและสิทธิในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลสำคัญโดยรวมอำนาจการตัดสินใจไว้กับองค์กรบางกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมดิจิตอลทั้งสิ้น

เงินอย่างน้อย 30% ของงบประมาณพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาควรถูกใช้เพื่อพัฒนาบุคลากร

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการพัฒนาเยาวชนผู้ด้อยโอกาส ได้มีการโต้เถียงกันอย่างกว้างขวางถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาและได้ข้อสรุปว่า เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถช่วยพัฒนาผลการเรียนของเยาวชนได้ แต่จำเป็นต้องได้รับการนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอ

การที่จะพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพต้องดำเนินการ 2 ประการ คือ
  1. ครูอาจารย์ต้องได้รับการพัฒนาความรู้ให้สามารถใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนของตนได้
  2. โรงเรียนจะต้องเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์อุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างกว้างขวาง



ปล. บทความนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ตอนนะครับ อ่านตอนที่ 2 คลิกที่นี่

ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ ประชาชาติยุคดิจิตอล Digital Nation สั่งซื้อได้ที่ SE-ED





วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี ได้ที่นี่ Download Free Software

สวัสดีครับ

วันนี้มีโปรแกรมน่าสนใจมานำเสนอทุกท่านครับ ซึ่งก็มีหลายตัวรวม ๆ กันมาให้ เผื่อว่าตรงตามที่ต้องการก็สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้เลยครับ

Free YouTube Downloader : โปรแกรมฟรีสำหรับ Download YouTube มาเป็นไฟล์ Video หรือ MP3 ใช้งานง่ายครับแถมฟรีอีกต่างหาก ไฟล์ชื่อ YTDSetup.zip นะครับ

ProShowGold : โปรแกรมสำหรับตัดต่อ VDO แบบง่าย ๆ มีลูกเล่นให้เลือกใช้มากมายพอสมควรเลยครับ เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้น ยิ่งใครเคยใช้ Movie Maker มาก่อนตัวนี้คล้า่ย ๆ กันเลยครับ แต่ลูกเล่นเยอะกว่า ไฟล์ชื่อ proshowgold.zip

7zip Portable : โปรแกรมสำหรับบีบอัดไฟล์ [zip file or rar file] บ้านเราอาจไม่ค่อยคุ้นเพราะใช้งาน winzip / winrar กันจนชิน แต่เจ้า 7zip นี่ความสามารถในการบีบอัดสูงกว่าและสามารถแตกไฟล์ที่บีบอัดได้หลากหลายนามสกุล [.zip .rar .7z] ข้อสำคัญเป็น open source freeware ถูกกฎหมายลงได้เลยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ ... สำหรับ version ที่นำมาให้ดาวน์โหลดไปใช้งานกันเป็นเวอร์ชั่นแบบ Portable [ไม่ต้อง install ลงเครื่อง]

FileZilla : โปรแกรม FTP สำหรับ upload file ขึ้นเว็บ version นี้เป็น Portable อีกเช่นเดียวกัน แตกไฟล์ zip แล้วดับเบิลคลิกใช้งานได้ทันที ข้อสำคัญเป็น open source freeware ถูกกฎหมายลงได้เลยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์

Photoscape 3.3 : โปรแกรมตกแต่งภาพที่พิสูจน์แล้วว่าใช้งานง่ายมากกก เป็น Freeware และเป็น Portable ดับเบิลคลิกใช้งานได้เลย

Adobe Photoshop CS5 : โปรแกรมตกแต่งภาพสำหรับมืออาชีพ จริง ๆ มือสมัครเล่นอย่างผมก็ใช้บ้างเป็นบางเวลานะครับเป็น Portable ดับเบิลคลิกใช้งานได้เลย

ZoomIt : โปรแกรมที่เหมาะกับครู วิทยากร หรือคนที่ต้องบรรยายหน้าชั้นเรียนบ่อย ๆ เอาไว้ Zoom หน้าจอ มีปากกาให้เขียน สามารถพิมพ์ข้อความอธิบายได้ แล้วก็ยังเอาไว้จับเวลาได้ด้วย  ... อาชีพครู อาชีพวิทยากร ควรมีติดตัวไว้ครับ Freeware

Adobe Dreamweaver CS5 : โปรแกรมเขียนเว็บยอดนิยม เวอร์ชั่นนี้แตกต่างจาก CS3 อยู่พอสมควรเลยครับรูปแบบการเขียนเว็บจะปรับเป็นมาตรฐาน HTML5 และ CSS ... ตอนติดตั้งมันจะเงียบ ๆ นะครับไม่ต้องตกใจ

HFS [Http File Server] : เป็นโปรแกรมแชร์ไฟล์แบบ HTTP เอาไว้แชร์ไฟล์โดยไม่ต้องไป set ค่าอะไรให้ยุ่งยาก ลาก ลาก วาง วาง เสร็จ หรือถ้าต้องการปรับแต่งเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ สามารถศึกษาวิธีใช้งานได้ที่ http://goo.gl/m6gDEp หรือ http://goo.gl/dVGnMm  ข้อสำคัญเป็น open source freeware

Notepad++ : โปรแกรม Editor ยอดนิยม ท่านไหนที่เคยใช้ notepad / editplus ในการเขียน code ลองใช้ Notepad++ ดูครับใช้งานง่าย plugin เพียบ ... เป็น open source freeware แตกไฟล์แล้วดับเบิลคลิกใช้งานได้ทันทีครับ

Xampp : โปรแกรมสำหรับจำลองเครื่องเป็น Web Server เป็นโปรแกรมที่มีการนำโปรแกรมหลายตัวไว้ ด้วยกัน หลังการติดตั้งสามารถทดสอบเขียนโปรแกรมได้ทันที ภายในมีทั้ง Apache, PHP, PERL, MySQL, phpMyAdmin ... ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นจนแซงหน้า appserv ไปเรียบร้อยแล้ว ที่นำมาให้ download กันเป็น Portable แตกไฟล์ดับเบิลคลิกใช้งานได้เลยครับ

ทุกโปรแกรมที่กล่าวมาสามารถ Download ได้ที่

https://googledrive.com/host/0BymflvB3DeVCU3dkUTBvNGVtMW8/

3 เรื่องต้องรู้กับ Facebook Fan Page

สรุปเนื้อหาที่น่าสนใจมาจากหนังสือ Marketing on Facebook ฉบับพื้นฐาน (ใหม่ล่าสุด) นะครับ ถ้าเห็นว่าน่าสนใจและมีประโยชน์ก็ช่วยกันอุดหนุนหนังสือเค้าด้วยนะครับ ^_^"

การตั้งชื่อ Fan Page

ก่อนการตั้งชื่อ Fan Page เราควรจะเช็คว่าชื่อ Fan Page ที่เราจะตั้งนั้นไปซ้ำหรือใกล้เคียงกับ Page อื่นที่มีอยู่แล้วหรือเปล่าโดยก่อนที่จะตั้งชื่อ Fan Page ของเรา แนะนำให้ลองพิมพ์ชื่อ Fan Page ที่เราจะตั้งลงในช่องค้นหาของ Facebook เสียก่อนแล้วดูผลลัพท์ว่ามันเยอะหรือเปล่า ถ้าเยอะแนะนำให้หาชื่อใหม่ครับ

ขนาดรูป Profile และ Cover Page ของ Fan Page

  • ขนาด 160*160 pixel เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส (update มีนา 2014)
  • ขนาด 851*315 pixel เป็นขนาดของรูป Cover Page รองรับไฟล์ตระกูล JPEG, PNG (update มีนา 2014)

รูป Profile หรือ รูป Cover Page ของ Fan Page ไม่จำเป็นต้องมีแค่รูป เราสามารถใช้ข้อความ เช่น สโลแกนของธุรกิจ, เบอร์โทร., เว็บไซต์, อีเมล์, โปรโมชั่นที่น่าสนใจ, QR Code, อื่น ๆ

การทำเพจให้มีชีวิตชีวา

  • จบ Post ด้วยประโยคคำถามเสมอ เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกใน page อยากมีส่วนร่วมในการสนทนา
  • Engage : ให้แฟน  ๆ มีส่วนร่วม และมีส่วนร่วมพูดคุยกันแฟน ๆ อยู่เสมอ
  • Respect : ให้เกียรติแฟน ๆ โพสต์สิ่งที่มีประโยชน์ทุกครั้ง ให้แฟน ๆ ตั้งหน้าตั้งตารอว่าเมื่อไรเราจะโพสต์ได้ยิ่งดี
  • Appreciate : แสดงความขอบคุณ แจกรางวัล สร้างความรู้สึกพิเศษที่หาไม่ได้จากเพจไหน ๆ
  • วางกลยุทธ์เนื้อหา : วางเนื้อหาใน 1 สัปดาห์ว่าเราจะโพสเนื้อหาอะไรวันไหน เวลาอะไร ไล่เป็น Timeline คิดล่วงหน้าไว้เลย เนื้อหาจะได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตลอด  ข้อดีของการวางเนื้อหา คือ เราสามารถประเมินผลย้อนหลังได้ว่าเนื้อหาที่เราวางไว้นั้นถูกใจแฟน ๆ ของเราหรือไม่




ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ Marketing on Facebook ฉบับพื้นฐาน (ใหม่ล่าสุด) สั่งซื้อได้ที่ http://goo.gl/xGCJjT