นี่คือเนื้อหาบางส่วนจากในหนังสือที่ผมเห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาเผยแพร่ให้ได้อ่านและนำไปคิดกันครับ เราคงหนีไม่พ้น Digital Nation
บทที่ 1 : สังคมดิจิตอล ณ ทางแยก
ผู้นำประเทศถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างกระแสความตระหนักของสังคมต่อปัญหาด้านการศึกษาและความเสมอภาคทางเทคโนโลยี และส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนในสังคมได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาเหลานี้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการกระตุ้นให้มีการขานรับที่เหมาะสมจากภาครัฐและเอกชน โดยส่งเสริมให้มีการขยายการลงทุนอย่างเพียงพอ เพื่อการพัฒนาประเทศให้ก้าวเข้าสู่ยุคของเทคโนโลยีที่มีความเสมอภาคสำหรับทุกคนในสังคมต่อไปบทที่ 2 : ทุกคนควรมีความรู้พื้นฐานอย่างเช่นการใช้คอมพิวเตอร์
การสื่อสารถือเป็นส่ิงจำเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์และสังคม การมีอิสระในการค้นหา ได้รับ และใช้ประโยชน์ ข้อมูลถือเป็นสิทธิมนุษยชนที่มีความสำคัญ และเป็นความจำเป็นขั้นต้นที่จะนำมาซึ่งสิทธิมนุษยชนอื่น ๆนายโคฟี อันนัน (Kofi Annan) อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ได้เปรียบเทียบระบบโทรคมนาคมว่ามีความสำคัญเทียบเท่ากับการมีน้ำดื่มและยารักษาโรค เขาได้แสดงถึงนัยทางการเมืองที่สำคัญ 2 ประการด้วยกัน ได้แก่
- มนุษย์ควรมีเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด
- มนุษย์ควรได้รับโอกาสในการสื่อสารความคิดของตนแก่สังคม ซึ่งรัฐบาลของแต่ละประเทศมีหน้าที่ในการสนับสนุนให้เกิดโอกาสดังกล่าว โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงแม้ในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล
บทที่ 3 : แลกเปลี่ยนวิญญาณเพื่อยุคดิจิตอล
เราควรสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสใช้ชีวิตออนไลน์หรือไม่
การเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเอื้อประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ และเพ่ิมประสิทธิภาพในการให้บริการนั้นอาจนำมาซึ่งผลเสียอย่างรุนแรง หากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความสนใจในด้านความเสมอภาคในสังคมอย่างเพียงพอ ตัวอย่างเช่น การกุมอำนาจของสื่อโดยคนบางกลุ่ม
มุมมอง 2 แบบใหญ่ ๆ คือ มุมมองของการถือประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ และมุมมองของสิทธิมนุษยชน นายโทมัส โอนีล (Thomas O'Neill) กล่าวว่า "เราจะโต้เถียงปัญหากันในแง่ศีลธรรมเพื่ออะไร ในเมื่อเราสามารถมองปัญหาในเชิงเศรษฐกิจได้"
แนวคิดในเรื่องของ "ทุนมนุษย์ (human capital)" เป็นแนวคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของสังคมดิจิตอล .... แนวคิดนี้มีรากฐานมาจากความเชื่อที่ว่า สถาบันการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบเป็นกุญแจสำคัญสู่การได้มาซึ่งอิสระในการดำรงชีวิต ทั้งนี้ในการดำรงชีวิตอย่างราบรื่นและการมีอนาคตที่มั่นคงของมนุษย์และสังคม เราจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานและทักษะในการตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณอย่างถูกต้อง ....การศึกษาเป็นกลจักรสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
บทที่ 4 : พรมแดนใหม่ของสิทธิมนุษยชน
วิธีการสร้างความมั่นคงของประเทศที่ดีที่สุดคือการสนับสนุนให้ประชาชนได้มีโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน
แถลงการณ์สากลเรื่องสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า "การมีอิสระในการค้นหา ได้รับ และใช้ประโยชน์ข้อมูลผ่านสื่อทุกชนิดโดยไม่จำกัดพรมแดนทางการเมือง ถือเป็นสิทธิมนุษยชนที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง"
ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษานั้น สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดย่อมมิใช่การจัดหาอุปกรณ์ แต่เป็นการพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้อย่างคล่องแคล่ว
บทที่ 5 : สังคมดิจิตอล สีดำและสีขาว
ระบบสื่อสารมวลชนที่เสมอภาคและเปิดโอกาสให้กับความคิดเห็นที่แตกต่าง ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสังคมดิจิตอล นโยบายรัฐอีกหลายอย่างที่ขัดต่อการพัฒนาข้างต้น เช่น การกำหนดให้มีการควบคุมสัมปทานของช่องทางสื่อสารและสิทธิในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลสำคัญโดยรวมอำนาจการตัดสินใจไว้กับองค์กรบางกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมดิจิตอลทั้งสิ้น
เงินอย่างน้อย 30% ของงบประมาณพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาควรถูกใช้เพื่อพัฒนาบุคลากร
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการพัฒนาเยาวชนผู้ด้อยโอกาส ได้มีการโต้เถียงกันอย่างกว้างขวางถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาและได้ข้อสรุปว่า เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถช่วยพัฒนาผลการเรียนของเยาวชนได้ แต่จำเป็นต้องได้รับการนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอ
การที่จะพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพต้องดำเนินการ 2 ประการ คือ
- ครูอาจารย์ต้องได้รับการพัฒนาความรู้ให้สามารถใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนของตนได้
- โรงเรียนจะต้องเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์อุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างกว้างขวาง
ปล. บทความนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ตอนนะครับ อ่านตอนที่ 2 คลิกที่นี่
ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ ประชาชาติยุคดิจิตอล Digital Nation สั่งซื้อได้ที่ SE-ED
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น